14/9/54

จักรวรรดินิยม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

อิสรภาพของอาณานิคม

ในช่วงหลังสงครามครั้งแรก ลัทธิล่าอาณานิคมยังคงเติบใหญ่ แต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ลัทธิชาตินิยมซึ่งฟักตัวขึ้นมาอย่างแพร่หลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่เพียงแต่เพิ่มความเข้มมากยิ่งขึ้น
ยังกลายเป็นองค์กรมีระบบแบบแผนที่เด่นชัด เรื่องนี้นำไปสู่การพลิกกลับทิศทางของกระแสคลื่นจักรวรรดินิยม
ของศตวรรษที่ผ่านมา บัดนี้จักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเล ขนาดใหญ่ทั้งหมดทุกแห่งเริ่มหดตัวเล็กลงไป
เพราะมีประเทศอิสรภาพทางการเมืองเกิดใหม่เข้ามาแทนที่

สภาคองเกรสรวมแอฟริกา

รวมชาวแอฟริกันและผู้สืบเชื้อสายของชาวแอฟริกันในประเทศอื่นๆ เปิดประชุมกัน เมื่อสิ้นสงครามโลกทั้งสองครั้ง
การประชุมสภาคองเกรสรวมแอฟริกาครั้งที่ 2 เปิดประชุมกันที่ปารีส ปี ค.ศ. 1919 ที่ประชุมได้ขอร้องต่อ
การประชุมของพันธมิตร ซึ่งเปิดประชุมในปีเดียวกันที่การประชุมสันติภาพแห่งแวร์ซายส์ โดยเรียกร้องให้มีผู้แทน
ของชาวแอฟริกันมากขึ้นอยู่ในรัฐบาลปกครองอาณานิคมตะวันตก เพื่อเลิกทาสและการบังคับใช้แรงงาน
รวมทั้งการปฏิรูปเรื่องอื่นๆ ในระบบการปกครองกดขี่อาณานิคม เรื่องนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับการประชุม
สภาคองเกรสรวมแอฟริกาครั้งที่ 5 ซึ่งประชุมกันที่ แมนเชสเตอร์ ปี ค.ศ. 1945 ที่ประชุมลงมติยอมรับ
ข้อเรียกร้องให้ยุติลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจและการเมืองทุกรูปแบบ สนับสนุนการใช้กำลังเพื่อให้ได้มา
ซึ่งอิสรภาพของแอฟริกาถ้าหากว่าการใช้วิธีอื่นๆ ล้มเหลว การประชุมเช่นนี้ไม่ได้เป็นการคุกคามมหาอำนาจตะวันตก
แบบโง่ๆ เพราะภายในตัวทวีปแอฟริกาเกิดมีพรรคการเมืองของมวลชนเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เป็นพรรคการเมือง
มีระเบียบแบบแผนดีขึ้น มีปฏิบัติการรุนแรงมากขึ้น และมีกำลังทหารมากขึ้นกว่าสมัยอดีตที่ผ่านมา นอกจากนั้นบัดนี้
สามารถเรียกได้ว่าเป็นทหารแห่งแอฟริกาที่มีประสบการณ์จากสนามรบ มีความรู้เรืองการใช้อาวุธก้าวหน้า
ซึ่งพวกตนได้มาจากสงครามโลกครั้งที่ 2

การที่ญี่ปุ่นได้ครอบครองอาณานิคมหลายแห่งของยุโรปในเอเชียและแปซิฟิค และมีกระบวนการต่อต้าน
ของชาวพื้นเมืองต่อการยึดครองของชาวต่างชาติ ทำให้ระบบอาณานิคมในบริเวณนั้นสั่นคลอน นอกเหนือไปจาก
จีนคอมมิวนิสต์ และจีนคณะชาตินิยม ทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองจีนแล้ว กองทัพประชาชน
ติดอาวุธเคลื่อนไหวหนักในอินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า และฟิลิปปินส์ และแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่ได้อยู่ภายใต้
การยึดครองของญี่ปุ่น การที่ประเทศแม่ปกครองอาณานิคมไม่เข้มแข็งพอเพราะต้องต่อสู้กับกลุ่มอักษะ
ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประชากรในอาณานิคมเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพ ตัวอย่างเช่น
พอสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ อินเดียพร้อมต่อสู้กับอังกฤษ ซึ่งกำลังหมดพลังจากทำสงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่สามารถ
ควบคุมจักรวรรดิของตนได้อย่างเข้มแข็งเหมือนสมัยอดีตที่ผ่านมา กำลังทางภาคพื้นทะเลของอังกฤษสูญสลาย
ไปเกือบหมดสิ้น เมื่อกำลังทางการเงินของอังกฤษอยู่ในฐานะหมดตัวเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษจึงไม่สามารถ
สร้างกองทัพอากาศใหม่ อังกฤษยังไม่สามารถสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินและฐานทัพอากาศ ซึ่งจำเป็นสำหรับป้องกัน
จักรวรรดิทั่วโลกของอังกฤษ และเนื่องจากเชื้อของลัทธิชาตินิยมที่เพาะตัวขึ้นในอาณานิคมอังกฤษ จึงไม่สามารถ
ใช้กองทหารเกณฑ์มาจากชาวอาณานิคม เพื่อนำมาใช้รักษากฏหมายและความสงบภายในอาณานิคมเหมือนสมัยก่อน
ความอ่อนแอและขีดจำกัดทำนองเดียวกันนี้ ในไม่ช้าเกิดกับมหาอำนาจอาณานิคมประเทศต่างๆ รวมทั้ง ฝรั่งเศส,
เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม

มีมหาอำนาจเพียงประเทศเดียวที่มีพลังมากพอเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ และพยายามรักษาระบบอาณานิคมเดิมไว้
โดยวิธีเดินไปบนเส้นทางเต็มไปด้วยเล่ห์ คือ สหรัฐ เมื่อมหาอำนาจยุโรปตะวันตก สิ้นพลังจากสงครามโลกครั้งที่แล้ว
ไปจนหมด สหรัฐสนใจและปฏิบัติดังนี้

1. สร้างประเทศของยุโรปตะวันตกขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐต่อสู้กับสหภาพโซเวียต

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การตั้งกลุ่มพันธมิตร NATO ขึ้นมา)

2. ต่อต้านการปฏิรูปสังคมที่จะปิดประตูการค้าและการลงทุนของสหรัฐ

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การพยายามให้มีเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน)

3. ขยายเขตอิทธิพลของสหรัฐไปยังดินแดนที่เคยเป็นของพันธมิตรมาก่อน

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การพยายามเข้าไปแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจผ่าน ตลาดหุ้น, IMF, WORLDBANK
และการเมืองผ่านกลุ่ม NGO's ต่างๆ หรือการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในพม่า
เพราะไม่สามารถส่งกองทหารเข้าไปยึดเหมือนอดีต)

4. การลดอิทธิพลของสหภาพโซเวียตให้ให้เหลือน้อยลง สามารถทำได้โดยวิธีให้การสนับสนุน
กระบวนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอาณานิคม

(ความเห็นส่วนตัวว่า เช่น การสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในเวียดนามใต้หรือแม้แต่
การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างลับๆ เช่น บินลาเดนในสงครามอัฟกานิสถาน เป็นต้น)

สาเหตุและจุดมุ่งหมายที่ซับซ้อนของสหรัฐเช่นนี้ ทำให้กระบวนการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสรภาพของ
บรรดาอาณานิคมทวีความเข้มมากขึ้นในช่วงหลังสงคราม ในที่สุดมีประเทศใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ

สาเหตุของการได้อิสรภาพของบรรดาอาณานิคม

จากการวิเคราะห์พบว่า กระแสคลื่นของการได้รับอิสรภาพของบรรดาอาณานิคม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดจากความเกี่ยวพันขององค์ประกอบสามเรื่องด้วยกันคือ

1. การปรับตัวใหม่ของมหาอำนาจของโลก โดยมีสหรัฐกับสหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศยิ่งใหญ่ของโลก

2. มหาอำนาจอาณานิคมเดิมไม่สามารถรักษาจักรวรรดินิยมโพ้นทะเล ไกลจากประเทศของตนไว้ได้อีกต่อไป

3. วิวัฒนาการของการต่อสู้เพื่อหาอิสรภาพให้กับประเทศชาติของบรรดาอาณานิคม มีความเข้มแข็งมากพอ
จนจักรวรรดินิยมตะวันตกซึ่งอ่อนพลังลงขณะนั้นไม่สามารถต้านทานได้

ถ้าหากค้นหาสาเหตุให้ลึกลงไปกว่านี้ จะพบว่าการก้าวไปมีอิสรภาพของอาณานิคมจะเป็นไปได้เร็วและไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
ในอาณานิคมใดก็ตามที่ประเทศเจ้าของอาณานิคมมีความมั่นใจว่าเป็นเพียงการโอนอำนาจไปให้รัฐบาลในอาณานิคมเดิม
ซึ่งคงอยู่ในวงโคจรทางเศรษฐกิจและการเมืองของตนต่อไป แต่จะเกิดสงครามรุนแรงและยาวนาน ในอาณานิคมใดก็ตาม
ที่กระบวนการเพื่อแสวงหาอิสรภาพนั้น ไม่ใช่เพียงแต่กระบวนการของกลุ่มชาตินิยมของดินแดนแห่งนั้นเท่านั้น แต่ยังเป็น
กระบวนการปฏิวัติ ซึ่งเมื่อได้อิสรภาพแล้วประเทศนั้นจะยึดอุตสาหกรรมและการลงทุนของต่างประเทศไว้จนหมดสิ้น
และตัดขาดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเจ้าของอาณานิคมเดิม และบางทีอาจเคลื่อนตัวไปสู่วงจรของประเทศ
กลุ่มสังคมนิยมด้วย เรืองนี้ต้องเพิ่มเรื่องอิทธิพลที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องบทบาทของคนผิวขาวส่วนใหญ่ที่เข้าไป
ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณานิคม คนกลุ่มนี้ต่อต้านรุนแรง ขัดขวางการเสาะแสวงหาอิสรภาพของบรรดาชาวอาณานิคมอย่างเช่น
ในแอลจีเรีย

รวมทั้งขัดขวางการโอนอำนาจปกครองประเทศไปให้คนพื้นเมืองอย่างเช่น โรดีเซียใต้


ประเทศแรกที่ได้รับอิสรภาพในระหว่างหรือเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ คือ
ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งได้รับอิสรภาพไปในปี ค.ศ. 1946
สหรัฐเคยให้คำมั่นว่าจะให้อิสรภาพมานานแล้ว รัฐในอาณัติแรกๆ ที่ได้รับอิสรภาพได้แก่
เลบานอน ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1941

ซีเรีย ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1941

และ ทรานส์จอร์แดน ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1946
รัฐในอาณัติที่เหลือในตะวันออกกลางคือ ปาเลสไตน์ ไม่ได้รับอธิปไตยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1948

เพราะการแบ่งดินแดนนี้มีเชื้อของสงคราม อาหรับ-ยิว

ทำให้เกิดการแบ่งปาเลสไตน์จริงๆ เป็นการแบ่งระหว่าง จอร์แดน (เดิมคือ ทรานส์จอร์แดน)

กับประเทศเกิดใหม่คือ อิสราเอล


เมื่อมีการร่างกฏบัตรสหประชาชาติ (ก่อตั้งขึ้นแทนที่ สันนิบาตชาติ)

เป็นที่คาดหวังกันว่า ดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติในบริเวณอืนๆ นอกจากในตะวันออกกลาง
ควรนำมาอยู่ ภายใต้การพิทักษ์ของสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้

ปฏิเสธไม่ยอมเลิกการเข้าไปปกครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ในปี ค.ศ. 1968 สหประชาชาติประกาศให้
แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (นามิเบีย) อยู่ใต้การควบคุมของสหประชาชาติ

แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1972 นามิเบีย ยังคงเป็นอาณานิคมของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ดินแดนในอาณัติแห่งอื่นๆ ทั้งหมด รวมทั้งอาณานิคมของญี่ปุ่นและอิตาลีได้รับอิสรภาพหรือไม่ก็เป็น
ดินแดนในการพิทักษ์ของสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 1972 ดินแดนในพิทักษ์เดิมของสหประชาชาติ 11 แห่ง
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
นิวกินี อยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรเลีย

หมู่เกาะในแปซิฟิคตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐ


กลุ่มประเทศถัดไปที่ได้รับอิสรภาพภายหลังฟิลิปปินส์และตะวันออกกลางได้รับอิสรภาพไปแล้ว
ได้แก่อาณานิคมของอังกฤษในเอเชีย ในพม่า

กองทัพแห่งชาติของพม่า ลุกขึ้นต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองพม่า ชาวพม่าตั้งความหวังไว้ว่าจะได้รับ
อิสรภาพหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามการหน่วงเหนี่ยวของอังกฤษในเรื่องให้อิสรภาพต่อพม่าทำให้เกิดจลาจล
ใหญ่โตตลอดทั่วพม่าในปี ค.ศ. 1946 พอถึงปี ค.ศ. 1948 พม่าจึงได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
ในปีเดียวกัน ศรีลังกา

ได้รับอิสรภาพและเป็นสมาชิกอยู่ในจักรภพแห่งอังกฤษ ขั้นตอนก้าวไปสู่อิสรภาพของอินเดีย

เริ่มต้นท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทหารญี่ปุ่นคุกคามพม่าและอินเดียด้านตะวันออก
ในขณะที่อังกฤษกำลังต้องการความช่วยเหลือจากชาวอินเดีย ในปี ค.ศ. 1942 อังกฤษเสนอให้
อินเดียมีฐานะเป็นเขตแดนอิสรภาพแต่ได้รับการปฏิเสธจากกลุ่มนักชาตินิยมของอินเดีย เพราะเห็นว่า
ยังไม่เพียงพอและเป็นอันตราย เพราะเป็นการเร่งให้มีการแบ่งอนุทวีปอินเดีย ในที่สุดเมื่อได้รับอิสรภาพ
ในปี ค.ศ. 1947 แล้ว

อนุทวีปอินเดียก็ถูกแบ่งจริงๆ

แบ่งออกเป็น อินเดียกับปากีสถาน

ตามคำแนะนำของอังกฤษ การแบ่งอนุทวีปอินเดียออกเป็นสองประเทศ ทำให้ชาวมุสลิมพากันอพยพ
เข้าไปอยู่ในปากีสถาน พวกฮินดูอพยพเข้าไปอยู่ในอินเดีย เช่นเดียวกับอาณานิคมในแอฟริกาและ
ในเวสต์อินดีส

ของอังกฤษในช่วงต่อมา อังกฤษพยายามให้อาณานิคมเดิมเมื่อได้รับอิสรภาพไปแล้ว
มีโครงร่างเศรษฐกิจ, การเมือง และการทหารเพื่อผลประโยชน์ของอังกฤษเอง เช่น
ในมาลายา

อังกฤษยังไม่ให้อิสรภาพจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1957 เพราะอังกฤษต้องการปราบปรามกระบวนการปฏิวัตินำโดย
พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ให้สงบราบคาบก่อน อังกฤษต้องใช้เวลาขจัดคอมมิวนิสต์ในมาลายานานถึง 8 ปี
เมื่อให้อิสรภาพแก่มาลายาแล้วประเทศนั้นจึงอยู่ในค่ายโลกเสรีตามความต้องการของอังกฤษ

การปฎิวัติและการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสรภาพของประเทศระบาดไปทั่วในดินแดนทุกแห่งของเอเชีย
การจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามกลางเมืองในจีน

ต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่นเป็นเวลานานสิ้นสุดลงแล้ว อิทธิพลของจักรวรรดินิยมทั้งหมดถูกขจัดออกไปจากประเทศจีน
ยกเว้นฮ่องกงอาณานิคมของอังกฤษ

มาเก๊าอาณานิคมของโปรตุเกส

และ ไต้หวันเขตอิทธิพลของสหรัฐ


เนเธอร์แลนด์โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารอังกฤษ พยายามเอาอินโดนีเซียกลับคืนภายหลัง
ญี่ปุ่นแพ้สงครามและถอนตัวออกไปจากอินโดนีเซียแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ ภายหลังต้องทำสงครามต่อสู้กับ
สาธารณรัฐอินโดนีเซียนาน 4 ปี ในที่สุดอินโดนีเซียได้รับอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1949 ฝรั่งเศสไม่พบความสำเร็จ
ในการเอาอินโดจีนกลับคืน

การทำสงครามต่อสู้กับญี่ปุ่นในอินโดจีนทำให้กองทัพของชาวอินโดจีนเพิ่มความเข้มแข็งและทำให้เกิดกระบวนการ
เพื่ออิสรภาพของประเทศในอินโดจีน นอกเหนือไปจากเรื่องอิสรภาพของประเทศแล้ว ประเทศในอินโดจีนยังต้องการ
เปลี่ยนแปลงโครงร่างพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ หรือต้องการเข้าไปอยู่ในวงจรของสังคมนิยม
ในการหวนกลับมาเอาอินโดจีนกลับคืน กองทัพฝรั่งเศสต้องทำสงครามกับ
เวียดนาม

อย่างรุนแรงเป็นสงครามระดับใหญ่นาน 9 ปี

ทั้งๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและขวัญอย่างใหญ่โตจากสหรัฐ แต่ฝรั่งเศสต้องพบกับความปราชัยครั้งใหญ่
โดยเฉพาะใน ยุทธภูมิแห่งเดียนเบียนฟู

ในการประชุมสันติภาพระหว่างประเทศปี ค.ศ. 1954 ที่นครเจนีวา ที่ประชุมตกลงให้อิสรภาพ แก่
ลาว

เขมร

และเวียดนาม ถูกแบ่งออกเป็นสองเขตโดยใช้ เส้นขนานที่ 17 เป็นแนวเขตกั้นระหว่าง เวียดนามเหนือ
กับ เวียดนามใต้

แต่กำหนดให้มีการลงประชามติเพื่อรวมเวียดนามทั้งสองแห่งในเดือน กรกฏาคม ค.ศ. 1956 เวียดนามใต้
ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลใหญ่ของสหรัฐตัดสินใจไม่ยอมให้มีการลงประชามติเพื่อรวมประเทศตามที่กำหนด
เวียดนามเหนือจึงสนับสนุนพวกเวียดกง

ทำสงครามล้มรัฐบาลเวียดนามใต้ จนกลายเป็นสงครามเวียดนาม

สหรัฐบุกโจมตีทางอากาศในดินแดนเวียดนามเหนือครั้งใหญ่ จนกระทั่งมีการเจรจาหยุดยิงระหว่างกันในปี ค.ศ. 1973

หลังจากนั้นเวียดนามเหนือจึงรวมเวียดนามใต้เป็นประเทศเดียวสำเร็จ นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของ
ดินแดนใดก็ตามที่เสาะแสวงหาอิสรภาพของประเทศ ไม่ต้องการเข้าไปอยู่ในวงโคจรของโลกตะวันตก
ต้องเผชิญกับการต่อสู้ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของผู้คนจำนวนมหาศาล และเป็นการต่อสู้ที่ต้องใช้เวลายาวนาน
แตกต่างไปจากดินแดนที่แสวงหาอิสรภาพให้กับประเทศแล้ว เข้าไปอยู่ในวงโคจรของโลกตะวันตก

ในแอฟริกาเหนือ การได้อิสรภาพเริ่มต้นในทศวรรษปี ค.ศ. 1950
ลิบยา (ลิเบีย) ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1951

มอรอกโก

และ ตูนีเซีย

ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1956 กระบวนการชาตินิยมในประเทศเหล่านี้สนับสนุนการหาอิสรภาพให้กับประเทศ
อย่างกว้างขวาง สำหรับมอรอกโกและตูนีเซียต้องทำสงครามรุนแรง เพราะฝรั่งเศสต้องการทำลายกระบวนการ
ชาตินิยมในทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ดีความพยายามของฝรั่งเศสไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะกำลังทหารของฝรั่งเศส
ถูกนำไปใช้มากมายในอินโดจีน และ แอลจีเรีย

ปี ค.ศ. 1954 ฝรั่งเศสสูญเสียกำลังทหารครั้งใหญ่และปราชัยในเวียดนาม การก่อปฏิวัติครั้งใหญ่เพื่อหาอิสรภาพ
ให้ประเทศแอลจีเรีย เริ่มต้นตอนปลายปี ค.ศ. 1954 เป็นสงครามขมขี่นและยาวนาน 8 ปี ทำให้ฝรั่งเศสต้องพบกับ
วิกฤติการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของแอลจีเรีย จึงพบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1962
ประเทศในแอฟริกาแถบกลางทวีปเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับอิสรภาพ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1956 ดินแดนในแถบนี้
ของแอฟริกาคงมีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับอิสรภาพคือ ลิเบอเรีย ได้รับอธิปไตยในปี ค.ศ. 1941 เอธิโอเปีย
ภายหลังที่พันธมิตรได้รับชัยชนะต่อกองทัพของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออก อีกประเทศหนึ่ง คือ ซูดาน
ซึ่งแยกออกจากอียิปต์ในปี ค.ศ. 1956 แต่เมื่อฝรั่งเศส เกรทบริเตน(อังกฤษ) และเบลเยี่ยม เริ่มยอมรับว่า
ไม่สามารถหยุดยั้งลัทธิชาตินิยมในแอฟริกาใต้ โดยปราศจากการทุ่มเททรัพยากรจำนวนมหาศาลและโดยไม่ก่อปัญหา
ยุ่งยากทางการเมืองขึ้นในสหประชาชาติ มหาอำนาจอาณานิคมเหล่านั้นจึงเปิดประตูให้กระแสคลื่นของกระบวนการ
ชาตินิยมในอาณานิคมของตนไหลผ่านไป มีเพียงโปรตุเกสและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เท่านั้นที่ยังสงบนิ่ง
การก่อความวุ่นวายและจลาจลระบาดไปทั่วใน
กาน่า

เคนยา

แทนแกนยิกา , โรดีเซียเหนือ และในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกาแถบเส้นศูนย์สูตรของฝรั่งเศส
เรื่องเหล่านี้สั่นคลอนการปกครองอาณานิคม แรงกดดันจากประเทศได้รับอิสรภาพใหม่ๆ แรงกดดันจากสหภาพโซเวียต
จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และจากนโยบายต่อต้านจักรวรรดินิยมของ ที่ประชุมเอเชีย-แอฟริกา ที่เปิดประชุมที่บันดง
ประเทศอินโดนีเซีย (การประชุมบันดง) ในปี ค.ศ. 1955 แรงกดดันเหล่านี้ทำให้อาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก
จำนวนมากมายในแอฟริกาได้รับอิสรภาพครั้งใหญ่ จุดแตกดับขั้นเด็ดขาดของแนวหน้าจักรวรรดินิยมเกิดขึ้นเมื่อ
กาน่า(โกลด์โคสต์เดิม) กลายเป็นประเทศปกครองตนเองในปี ค.ศ. 1957 อีกห้าปีต่อมาจากปี ค.ศ. 1958-1962
มีประเทศอิสรภาพใหม่ 23 ประเทศเกิดขึ้นในบริเวณนั้น และจากปี ค.ศ. 1963-1968 มีประเทศอิสรภาพเพิ่มขึ้น
อีก 10 ประเทศในบริเวณภูมิภาคเดียวกันของแอฟริกา ประเทศอิสรภาพเกิดใหม่หลายประเทศคงมีความผูกพัน
ทางเศรษฐกิจและทางทหารเป็นพิเศษกับประเทศเจ้าของอาณานิคม

ในโรดีเซีย (โรดีเซียใต้เดิม)

พวกชาวผิวขาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่นั้นเตรียมยึดอำนาจการปกครองประเทศ ดังนั้นในขณะที่โรดีเซียยังคงเป็น
อาณานิคมของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1965 โรดีเซียกลายเป็นประเทศปกครองโดยชนผิวขาวซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย
โปรตุเกสยังคงครอบครองอาณานิคมในแอฟริกาของตนต่อไป ในกินีของโปรตุเกส ในอังโกลาและโมซัมบิก
กองโจรชาตินิยมเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศได้รับการค้ำประกันความปลอดภัยจากสมาชิกของ
นาโต

ได้ส่งกองทหารของตนเป็นจำนวนมากไปประจำการอยู่ในอาณานิคมของตนในแอฟริกา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น