ชายแดนใต้เดือนสิงหาฯ 52 : การต่อสู้ที่ฟาฏอนีในเดือนรอมฎอน
by DeepSouthWatch | Sun, 2009-09-06 12:09
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)
ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงง่ายๆ หลังจากเวลาผ่านไปถึง 5 ปี กับอีก 8 เดือนแล้ว ถ้านับจากสถิติของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ในระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 มีเหตุการณ์ร้ายในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส เกิดขึ้นประมาณ 9,232 ครั้ง ผลของเหคุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,611 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 6,073 ราย กล่าวโดยภาพรวม สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นเหยื่อของความรุนแรงทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บสูงถึงประมาณ 9,684 ราย ผลกระทบในแง่ของความสูญเสียต่อมนุษย์และสังคมน่าจะสูงมากกว่านี้ กล่าวคือถ้าจะประมาณจำนวนบุคคลที่อยู่ในครอบครัวของผู้เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวจะสูงมากถึงประมาณ 48,000-50,000 คน
เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จึงมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนทั่วไปในพื้นที่มาก ดังจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาจำนวน 2,000 คนโดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (CSCC) ระหว่างวันที่ 1-29 มิถุนายน 2552 ประชากรตัวอย่างมากถึงร้อยละ 22 ที่มีเพื่อน คนรู้จักหรือญาติสนิทเสียชีวิตหรือบาดเจ็บหรือหายตัวไปจากเหตุการณ์ความไม่สงบ แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบในแง่ความรู้สึกที่มีคนรู้จักใกล้ชิดเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรง
ความต่อเนื่องของความรุนแรงและความไม่มั่นคง
เมื่อทบทวนการวิเคราะห์แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในรอบ 5 ปีกว่าที่ผ่านมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีกระแสสูงมากนับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้มีความถี่ของเหตุการณ์สูงถึงเดือนละประมาณ 150-180 กว่าครั้ง (รวมทั้งการยิง การวางระเบิด การวางเพลิงและการก่อกวนอื่นๆ) นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 แต่หลังจากเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2550 ระดับความชุกของเหตุการณ์ความรุนแรงไม่สงบลดลงจนถึงระดับที่ต่ำกว่า 100 ครั้งต่อเดือน และตลอดช่วงปี พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่อยู่ในระดับที่ลดลง จากเดิมตั้งแต่ปี 150-180 เหตุการณ์ต่อเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2550 จนอยู่ในระดับโดยเฉลี่ย 60 เหตุการณ์ต่อเดือนในปี พ.ศ. 2550
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มว่าเหตุการณ์อาจจะมีระดับความรุนแรงมากขึ้น โดยที่ในรอบ 8 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ความไม่สงบรายเดือนจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 86 เหตุการณ์ โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม เมษายน มิถุนายนและเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาถือว่าเป็นเดือนที่มีเหตุการณ์สูงถึง 95-100 กว่าครั้งต่อเดือน
เมื่อพิจารณาในแง่ของผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการตายและบาดเจ็บ จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ยังมีความไม่แน่นอน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันประมาณ 9,684 ราย การทุ่มกำลังของรัฐเข้าควบคุมพื้นที่มากขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 ทำให้เหตุการณ์มีแนวโน้มว่าจะลดความเข้มลง และจำนวนผู้สูญเสียลดลง โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2551
แต่ดูเหมือนว่าในปี พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มว่าสถานการณ์อาจจะกำลังเพิ่มระดับขึ้น และมีแนวโน้มว่าความสูญเสียต่อชีวิตกำลังมีระดับสูงขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากเมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บโดยเฉลี่ยเดือนละ 153 ราย แต่ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บลดลง เหลือโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 108 ราย แต่ในช่วง 8 เดือนระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ตายและบาดเจ็บสูงขึ้นถึงโดยเฉลี่ยเดือนละ 124 ราย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกลับสูงโด่งขึ้นอีกถึงประมาณ 213 ราย ซึ่งถือว่าสูงเท่ากับระดับของความสูญเสียก่อนหน้ามาตรการคุมเข้มและระดมกำลังขนานใหญ่ของรัฐตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 ในเดือนสิงหาคมที่เพิ่งผ่านมานี้ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มเดือนรอมฎอน การสูญเสียจากสถานการณ์ความไม่สงบก็ยังสูงถึง 158 ราย
เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่มีเหตุรุนแรงที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ความรุนแรงที่เด่นชัดก็คือการระเบิดที่บริเวณอำเภอยี่งอ และการกราดยิงมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 รายคามัสยิด ในเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนของพี่น้องมุสลิมที่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บก็ยังคงมีระดับค่อนข้างสูง
การประเมินสถานภาพของความรุนแรง
เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ที่ดูเหมือนจะลดลงในปี พ.ศ. 2551 แต่ในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2552 นั้น มีความหมายอย่างไร? สถานการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นปัจจัยหลายอย่างที่เป็นองค์ประกอบของการอธิบายปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
1. การที่รัฐใช้มาตรการทางการทหารโดยเฉพาะการใช้กองกำลังจำนวนมากเข้าควบคุมพื้นที่พร้อมทั้งการเปิดยุทธการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย กิจกรรมการข่าว งานพัฒนาสัมพันธ์มวลชน ประกอบกับการยังคงรักษาอำนาจด้วยการใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้สามารถควบคุมพื้นที่ รักษาความสงบและลดพื้นที่การเคลื่อนไหวของกองกำลังฝ่ายก่อความไม่สงบ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ ในระดับที่มีนัยสำคัญ จะเห็นได้จากการลดจำนวนครั้งและความถี่ของเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงปี 2551 และตลอดมาจนช่วงต้นปี พ.ศ. 2552
2. อย่างไรก็ตาม กองกำลังและมาตรการทางทหาร รวมทั้งการใช้กฎหมายพิเศษอย่างเดียวไม่อาจลดเงื่อนไขของความขัดแย้งและความรุนแรงได้ เพราะปัญหาพื้นฐานคือเรื่องของความรู้สึกไม่เป็นธรรมของคนมลายูมุสลิมปัตตานี และปัญหาเชิงโครงสร้างอื่นๆ เช่น ปัญหาการว่างงาน ความยากจน และปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ที่สะท้อนความผิดพลาดในเรื่องความเป็นธรรมที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาในเรื่องการปฏิบัติของรัฐในเรื่องความยุติธรรมอันเป็นปมปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เกิดกระแสความรู้สึกไม่พอใจต่อรัฐ ตัวอย่างเช่น การแสดงความรู้สึกไม่เห็นด้วยกรณีคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาคดีหมายเลขดำที่ ช.16/2548 หมายเลขแดงที่ ช. 8/2552 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในคดีไต่สวนการตายกรณีตากใบ และกรณีการสังหารหมู่ที่มัสยิดไอร์ปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552 ซึ่งมีข้อสงสัยว่าฝ่ายใดเป็นคนทำ และรัฐสามารถจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้หรือไม่
3. ในประเด็นทางจิตวิทยาสังคม แม้ว่ารัฐจะพยายามควบคุมเหตุการณ์ความรุนแรงด้วยการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่จำนวนมาก แต่รัฐก็ยังไม่สามารถเอาชนะจิตใจของประชาชนส่วนมากในพื้นที่ได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนออกมาให้เห็นจากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นครั้งล่าสุดโดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (CSCC) ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดสงขลา จำนวนประมาณ 2,000 คน เพื่อประเมินผลกระทบของการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ต่อคำถามที่ว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีอคติและไม่เป็นธรรมต่อคนบางกลุ่มอยู่ มีผู้ตอบเห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมกันมากถึงร้อยละ 52.63 ส่วนอีกร้อยละ 35.65 มีความเห็นปานกลาง ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 11 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เมื่อถูกถามว่าเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลยังคงใช้กำลังทหารจำนวนมากมาจัดการปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ตอบจำนวนสูงมากถึงร้อยละ 61.59 อยู่ในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผู้เห็นด้วยระดับปานกลางมีจำนวนร้อยละ 13.97 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 24.24 เท่านั้นที่ตอบว่าเห็นด้วย สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะให้ใช้มาตรการทางการเมืองนำการทหารของประชาชนส่วนมากในพื้นที่
ดังนั้น เมื่อประเมินโดยภาพรวมความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนส่วนมากจึงมีความรู้สึกกลางๆ ร้อยละ 39.21 ส่วนอีกร้อยละ 34.10 บอกว่าไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีเพียงแค่ร้อยละ 26.49 เท่านั้นที่พอใจ เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างยิ่ง
ปฏิบัติการทางวาทกรรมของการต่อสู้ที่ฟาฎอนี
ในท่ามกลางคลื่นของความรุนแรงที่เกิดขึ้น ความซับซ้อนของเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้สะท้อนให้เห็นการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างพลังของฝ่ายต่างๆ เพื่อที่จะยึดครองพื้นที่ทางสังคมและการแย่งชิงความชอบธรรม ในขณะที่ฝ่ายรัฐทุ่มกำลังและงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อแก้ปัญหาและคงสภาพการควบคุมเอาไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถเอาชนะจิตใจของประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยในพื้นที่ในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่ออัตลักษณ์และชีวิตที่ดีขึ้น
จุดอ่อนที่สำคัญก็คือความไม่สามารถจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการการเมืองนำการทหาร ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความชอบธรรมของรัฐและแก้ปัญหาโครงสร้างการเมืองการบริหารเพื่อจัดการปัญหาความขัดแย้งที่ซับซ้อนในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางสังคมวัฒนธรรม ตัวเร่งของความรุนแรงและความเข้มข้นของปัญหาก็คือกระแสทางสากลที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างการต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธ์และความยุติธรรมให้เข้ากับตัวแปรในทางศาสนาอย่างทรงพลัง
ดังจะเห็นได้จากการเร่งกระแสความรุนแรงและการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ในระหว่างช่วงเดือนรอมฏอนหรือการถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลก กระแสการก่อการร้ายที่มักจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นในดินแดนที่มีความขัดแย้งในโลกเช่นที่อิรัก อัฟกานิสถานและปากีสถาน การต่อสู้ที่ปัตตานีก็จะถูกเร่งกระแสความรุนแรงในช่วงนี้เช่นเดียวกัน
ในความรุนแรงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานั้น แม้ว่าในช่วงเดือนถือศีลอดมักจะไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีความรุนแรงสูงสุดของแต่ละปี เว้นแต่ในปี 2547 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม แต่ในปีที่ผ่านมา (2551) เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงสูงสุดของทั้งปีซึ่งเป็นเดือนรอมฎอน ในปี 2552 นี้ เหตุการณ์ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมก็สูงขึ้นอย่างเด่นชัด จนทำให้เดือนสิงหาคมเป็นอีกเดือนหนึ่งเดือนที่มีสถิติของความรุนแรงสูงมากในปีนี้ เหตุการณ์ในเดือนกันยายนก็มีแนวโน้มว่าจะสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้เป็นการปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อยืนยันความชอบธรรมของการต่อสู้เพื่อปัตตานีในภารกิจเพื่อชาติพันธุ์ มาตุภูมิและศาสนา ปฏิบัติการทางวาทกรรมดังกล่าวถูกทำให้ลดความสำคัญลงด้วยวาทกรรมเรื่องเหตุของความรุนแรงที่เป็นเรื่องของความขัดแย้งผลประโยชน์ส่วนตัว ความรุนแรงที่เป็นเรื่องแก้แค้นส่วนบุคคล การฆ่าเพื่ออิทธิพลทางการเมืองท้องถิ่น อาชญากรรมและปัญหาการค้ายาเสพติด การเร่งกระแสความรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอนเป็นการยืนยันว่าวาทกรรมความรุนแรงของการต่อสู้ที่ปัตตานี คือ การต่อสู้ที่เป็นจริงของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อชาติพันธุ์มลายู มาตุภูมิปัตตานีและศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะสะท้อนภาพการต่อสู้การก่อการร้ายในต่างประเทศที่มีกระแสสูงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ปัตตานีเป็นแนวรบระหว่างประเทศที่ปรากฏในรายงานข่าวของสำนักข่าวระหว่างประเทศ เคียงคู่ไปกับรายงานการเกิดเหตุในอัฟกานิสถานและอิรัก การต่อสู้ในห้วงเวลาดังกล่าวจะทำให้ผู้ต่อสู้และเสียสละได้รับผลบุญอันสูงยิ่งตามความเชื่อของเขา
การสร้างวาทกรรมทางการเมืองและปฏิบัติการทางวาทกรรมดังกล่าวทำให้ความชอบธรรมในการต่อสู้ดังกล่าวมีระดับสูงขึ้น มีอำนาจครอบงำมากขึ้นและมีโอกาสจะขยายตัวได้มากขึ้น การใช้แนวทางการเมืองนำการทหารและแนวทางสันติจะช่วยให้เกิดความเข้าใจความละเอียดอ่อนและความซับซ้อนของปัญหาดังกล่าว หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นแค่รบชนะในสนามรบแต่แพ้สงครามในที่สุด
by DeepSouthWatch | Sun, 2009-09-06 12:09
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)
ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงง่ายๆ หลังจากเวลาผ่านไปถึง 5 ปี กับอีก 8 เดือนแล้ว ถ้านับจากสถิติของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ในระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 มีเหตุการณ์ร้ายในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส เกิดขึ้นประมาณ 9,232 ครั้ง ผลของเหคุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,611 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 6,073 ราย กล่าวโดยภาพรวม สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นเหยื่อของความรุนแรงทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บสูงถึงประมาณ 9,684 ราย ผลกระทบในแง่ของความสูญเสียต่อมนุษย์และสังคมน่าจะสูงมากกว่านี้ กล่าวคือถ้าจะประมาณจำนวนบุคคลที่อยู่ในครอบครัวของผู้เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวจะสูงมากถึงประมาณ 48,000-50,000 คน
เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จึงมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนทั่วไปในพื้นที่มาก ดังจะเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาจำนวน 2,000 คนโดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (CSCC) ระหว่างวันที่ 1-29 มิถุนายน 2552 ประชากรตัวอย่างมากถึงร้อยละ 22 ที่มีเพื่อน คนรู้จักหรือญาติสนิทเสียชีวิตหรือบาดเจ็บหรือหายตัวไปจากเหตุการณ์ความไม่สงบ แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบในแง่ความรู้สึกที่มีคนรู้จักใกล้ชิดเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรง
ความต่อเนื่องของความรุนแรงและความไม่มั่นคง
เมื่อทบทวนการวิเคราะห์แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในรอบ 5 ปีกว่าที่ผ่านมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีกระแสสูงมากนับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้มีความถี่ของเหตุการณ์สูงถึงเดือนละประมาณ 150-180 กว่าครั้ง (รวมทั้งการยิง การวางระเบิด การวางเพลิงและการก่อกวนอื่นๆ) นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 แต่หลังจากเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2550 ระดับความชุกของเหตุการณ์ความรุนแรงไม่สงบลดลงจนถึงระดับที่ต่ำกว่า 100 ครั้งต่อเดือน และตลอดช่วงปี พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่อยู่ในระดับที่ลดลง จากเดิมตั้งแต่ปี 150-180 เหตุการณ์ต่อเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2550 จนอยู่ในระดับโดยเฉลี่ย 60 เหตุการณ์ต่อเดือนในปี พ.ศ. 2550
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มว่าเหตุการณ์อาจจะมีระดับความรุนแรงมากขึ้น โดยที่ในรอบ 8 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ความไม่สงบรายเดือนจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 86 เหตุการณ์ โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม เมษายน มิถุนายนและเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาถือว่าเป็นเดือนที่มีเหตุการณ์สูงถึง 95-100 กว่าครั้งต่อเดือน
เมื่อพิจารณาในแง่ของผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการตายและบาดเจ็บ จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ยังมีความไม่แน่นอน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันประมาณ 9,684 ราย การทุ่มกำลังของรัฐเข้าควบคุมพื้นที่มากขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 ทำให้เหตุการณ์มีแนวโน้มว่าจะลดความเข้มลง และจำนวนผู้สูญเสียลดลง โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2551
แต่ดูเหมือนว่าในปี พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มว่าสถานการณ์อาจจะกำลังเพิ่มระดับขึ้น และมีแนวโน้มว่าความสูญเสียต่อชีวิตกำลังมีระดับสูงขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากเมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บโดยเฉลี่ยเดือนละ 153 ราย แต่ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บลดลง เหลือโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 108 ราย แต่ในช่วง 8 เดือนระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ตายและบาดเจ็บสูงขึ้นถึงโดยเฉลี่ยเดือนละ 124 ราย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกลับสูงโด่งขึ้นอีกถึงประมาณ 213 ราย ซึ่งถือว่าสูงเท่ากับระดับของความสูญเสียก่อนหน้ามาตรการคุมเข้มและระดมกำลังขนานใหญ่ของรัฐตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 ในเดือนสิงหาคมที่เพิ่งผ่านมานี้ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มเดือนรอมฎอน การสูญเสียจากสถานการณ์ความไม่สงบก็ยังสูงถึง 158 ราย
เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่มีเหตุรุนแรงที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ความรุนแรงที่เด่นชัดก็คือการระเบิดที่บริเวณอำเภอยี่งอ และการกราดยิงมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 รายคามัสยิด ในเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนของพี่น้องมุสลิมที่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บก็ยังคงมีระดับค่อนข้างสูง
การประเมินสถานภาพของความรุนแรง
เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ที่ดูเหมือนจะลดลงในปี พ.ศ. 2551 แต่ในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2552 นั้น มีความหมายอย่างไร? สถานการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นปัจจัยหลายอย่างที่เป็นองค์ประกอบของการอธิบายปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
1. การที่รัฐใช้มาตรการทางการทหารโดยเฉพาะการใช้กองกำลังจำนวนมากเข้าควบคุมพื้นที่พร้อมทั้งการเปิดยุทธการปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมาย กิจกรรมการข่าว งานพัฒนาสัมพันธ์มวลชน ประกอบกับการยังคงรักษาอำนาจด้วยการใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้สามารถควบคุมพื้นที่ รักษาความสงบและลดพื้นที่การเคลื่อนไหวของกองกำลังฝ่ายก่อความไม่สงบ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ ในระดับที่มีนัยสำคัญ จะเห็นได้จากการลดจำนวนครั้งและความถี่ของเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงปี 2551 และตลอดมาจนช่วงต้นปี พ.ศ. 2552
2. อย่างไรก็ตาม กองกำลังและมาตรการทางทหาร รวมทั้งการใช้กฎหมายพิเศษอย่างเดียวไม่อาจลดเงื่อนไขของความขัดแย้งและความรุนแรงได้ เพราะปัญหาพื้นฐานคือเรื่องของความรู้สึกไม่เป็นธรรมของคนมลายูมุสลิมปัตตานี และปัญหาเชิงโครงสร้างอื่นๆ เช่น ปัญหาการว่างงาน ความยากจน และปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ที่สะท้อนความผิดพลาดในเรื่องความเป็นธรรมที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาในเรื่องการปฏิบัติของรัฐในเรื่องความยุติธรรมอันเป็นปมปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เกิดกระแสความรู้สึกไม่พอใจต่อรัฐ ตัวอย่างเช่น การแสดงความรู้สึกไม่เห็นด้วยกรณีคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาคดีหมายเลขดำที่ ช.16/2548 หมายเลขแดงที่ ช. 8/2552 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในคดีไต่สวนการตายกรณีตากใบ และกรณีการสังหารหมู่ที่มัสยิดไอร์ปาแย อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552 ซึ่งมีข้อสงสัยว่าฝ่ายใดเป็นคนทำ และรัฐสามารถจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้หรือไม่
3. ในประเด็นทางจิตวิทยาสังคม แม้ว่ารัฐจะพยายามควบคุมเหตุการณ์ความรุนแรงด้วยการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่จำนวนมาก แต่รัฐก็ยังไม่สามารถเอาชนะจิตใจของประชาชนส่วนมากในพื้นที่ได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนออกมาให้เห็นจากข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นครั้งล่าสุดโดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (CSCC) ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดสงขลา จำนวนประมาณ 2,000 คน เพื่อประเมินผลกระทบของการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ต่อคำถามที่ว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีอคติและไม่เป็นธรรมต่อคนบางกลุ่มอยู่ มีผู้ตอบเห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมกันมากถึงร้อยละ 52.63 ส่วนอีกร้อยละ 35.65 มีความเห็นปานกลาง ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 11 ไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เมื่อถูกถามว่าเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลยังคงใช้กำลังทหารจำนวนมากมาจัดการปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ตอบจำนวนสูงมากถึงร้อยละ 61.59 อยู่ในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผู้เห็นด้วยระดับปานกลางมีจำนวนร้อยละ 13.97 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 24.24 เท่านั้นที่ตอบว่าเห็นด้วย สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะให้ใช้มาตรการทางการเมืองนำการทหารของประชาชนส่วนมากในพื้นที่
ดังนั้น เมื่อประเมินโดยภาพรวมความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนส่วนมากจึงมีความรู้สึกกลางๆ ร้อยละ 39.21 ส่วนอีกร้อยละ 34.10 บอกว่าไม่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีเพียงแค่ร้อยละ 26.49 เท่านั้นที่พอใจ เห็นด้วยหรือเห็นด้วยอย่างยิ่ง
ปฏิบัติการทางวาทกรรมของการต่อสู้ที่ฟาฎอนี
ในท่ามกลางคลื่นของความรุนแรงที่เกิดขึ้น ความซับซ้อนของเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้สะท้อนให้เห็นการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างพลังของฝ่ายต่างๆ เพื่อที่จะยึดครองพื้นที่ทางสังคมและการแย่งชิงความชอบธรรม ในขณะที่ฝ่ายรัฐทุ่มกำลังและงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อแก้ปัญหาและคงสภาพการควบคุมเอาไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถเอาชนะจิตใจของประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยในพื้นที่ในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่ออัตลักษณ์และชีวิตที่ดีขึ้น
จุดอ่อนที่สำคัญก็คือความไม่สามารถจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการการเมืองนำการทหาร ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความชอบธรรมของรัฐและแก้ปัญหาโครงสร้างการเมืองการบริหารเพื่อจัดการปัญหาความขัดแย้งที่ซับซ้อนในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางสังคมวัฒนธรรม ตัวเร่งของความรุนแรงและความเข้มข้นของปัญหาก็คือกระแสทางสากลที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างการต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธ์และความยุติธรรมให้เข้ากับตัวแปรในทางศาสนาอย่างทรงพลัง
ดังจะเห็นได้จากการเร่งกระแสความรุนแรงและการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ในระหว่างช่วงเดือนรอมฏอนหรือการถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลก กระแสการก่อการร้ายที่มักจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นในดินแดนที่มีความขัดแย้งในโลกเช่นที่อิรัก อัฟกานิสถานและปากีสถาน การต่อสู้ที่ปัตตานีก็จะถูกเร่งกระแสความรุนแรงในช่วงนี้เช่นเดียวกัน
ในความรุนแรงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานั้น แม้ว่าในช่วงเดือนถือศีลอดมักจะไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีความรุนแรงสูงสุดของแต่ละปี เว้นแต่ในปี 2547 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม แต่ในปีที่ผ่านมา (2551) เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงสูงสุดของทั้งปีซึ่งเป็นเดือนรอมฎอน ในปี 2552 นี้ เหตุการณ์ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมก็สูงขึ้นอย่างเด่นชัด จนทำให้เดือนสิงหาคมเป็นอีกเดือนหนึ่งเดือนที่มีสถิติของความรุนแรงสูงมากในปีนี้ เหตุการณ์ในเดือนกันยายนก็มีแนวโน้มว่าจะสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้เป็นการปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อยืนยันความชอบธรรมของการต่อสู้เพื่อปัตตานีในภารกิจเพื่อชาติพันธุ์ มาตุภูมิและศาสนา ปฏิบัติการทางวาทกรรมดังกล่าวถูกทำให้ลดความสำคัญลงด้วยวาทกรรมเรื่องเหตุของความรุนแรงที่เป็นเรื่องของความขัดแย้งผลประโยชน์ส่วนตัว ความรุนแรงที่เป็นเรื่องแก้แค้นส่วนบุคคล การฆ่าเพื่ออิทธิพลทางการเมืองท้องถิ่น อาชญากรรมและปัญหาการค้ายาเสพติด การเร่งกระแสความรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอนเป็นการยืนยันว่าวาทกรรมความรุนแรงของการต่อสู้ที่ปัตตานี คือ การต่อสู้ที่เป็นจริงของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อชาติพันธุ์มลายู มาตุภูมิปัตตานีและศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะสะท้อนภาพการต่อสู้การก่อการร้ายในต่างประเทศที่มีกระแสสูงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ปัตตานีเป็นแนวรบระหว่างประเทศที่ปรากฏในรายงานข่าวของสำนักข่าวระหว่างประเทศ เคียงคู่ไปกับรายงานการเกิดเหตุในอัฟกานิสถานและอิรัก การต่อสู้ในห้วงเวลาดังกล่าวจะทำให้ผู้ต่อสู้และเสียสละได้รับผลบุญอันสูงยิ่งตามความเชื่อของเขา
การสร้างวาทกรรมทางการเมืองและปฏิบัติการทางวาทกรรมดังกล่าวทำให้ความชอบธรรมในการต่อสู้ดังกล่าวมีระดับสูงขึ้น มีอำนาจครอบงำมากขึ้นและมีโอกาสจะขยายตัวได้มากขึ้น การใช้แนวทางการเมืองนำการทหารและแนวทางสันติจะช่วยให้เกิดความเข้าใจความละเอียดอ่อนและความซับซ้อนของปัญหาดังกล่าว หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นแค่รบชนะในสนามรบแต่แพ้สงครามในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น