นครอิสตันบุลตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงของตุรกี (อังการา) ประมาณ 454 กม. โดยภูมิประเทศจะเป็นเนินเขา ทะเลและช่องแคบ ด้วยเหตุผลดังกล่าวในเบื้องต้น นครอิสตันบูลจึงเป็นเมืองที่มีภูมิประเทศที่สวยงามที่สุดเมืองหนึ่งในโลก และเป็นจุดศูนย์กลางในด้านศิลปะวิทยาการของโลกมุสลิม สมัยอาณาจักรออตโตมัน
การกำเนิดของเมือง
ตามตำนาน “บิซัส” แห่ง เมการา เป็นผู้สร้างเมืองเมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เมืองนี้ชื่อว่า “ไบแซนทิอุม” Byzantium
ค.ศ.330 คอนสแตนตินได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิของโรมัน และเลือกไบแซนทิอุมเป็นเมืองหลวงของโรมัน แห่งที่ 2 และเปลี่ยน “ไบแซนทิอุม” เป็น “กรุงโรมใหม่ Nova Rome” และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “คอนสแตนติโนโปลิส Constanantinopolis หรือ คอนสแตนติโนเปิล” ตามพระนามของจักรพรรดิคอนสแตนติน
เหตุผลที่เลือก “คอนสแตนติโนเปิล” เป็นเมืองหลวงที่สองของโรมคือ
- เป็นชัยภูมิที่ดีเยี่ยม เพราะตั้งอยู่ที่ทางเข้าออกช่องแคบบอสฟอรัส
- บริเวณที่ตั้งคือ “โกลเดน ฮอร์น GoldenHorn” มีน้ำล้อม 2 ด้าน และอยู่บนเนินเขา 7 ลูก (เช่นเดียวกับกรุงโรม)
อาณาจักรโรมันตะวันออก มีเมืองหลวงคือ “คอนสแตนติโนเปิล” โดยต่อมาได้เรียกอาณาจักรโรมันตะวันออกว่า “อาณาจักรไบแซนไทน์”
เมื่อความเจริญของอาณาจักรไบแซนไทน์ ถึงจุดสูงสุด หลังจากนั้น ในที่สุดนครคอนสแตนนิโนเปิล ได้รับความเสียหายจากกองทหารครูเสด (Crusaders) ใน ค.ศ. 1204 และด้วยเหตดังกล่าวทำให้อาณาจักรไบแซนไทน์ โดยมีเมืองหลวงชื่อนครสแตนนิโนเปิลเริ่มเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว
ค.ศ.1453 สุลต่านเมห์เมตที่ 2 (จักรพรรดิของอาณาจักรออตโตมัน) ได้เปิดฉากโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ใช้กำลังพลกว่าแสนคน โดยขณะนั้นมีพลเมืองเหลือในเมืองเพียง50,000คน (จากเดิมมีมากว่า 500,000คน)
การชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เป็นการขยายอาณาจักรออตโตมันให้ยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น
สุลด่านเมห์เมตที่ 2 ได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิลและได้เปลี่ยนชื่อเมืองดังกล่าวนี้ใหม่เป็น “อิสลามบูล Islambol”
ความสำเร็จของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทำให้อาณาจักรออตโตมันแผ่ขยายความยิ่งใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดออสเตรีย ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอารเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่”
และนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุกรีในปี 1923 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล Istanbul”
ณ ซอยหนึ่งในเมืองอิสตันบูล เวลาประมาณ 23.00น. (เวลาในตุรกี)
สภาพที่พักอาศัยสมัยเก่าก่อน ที่ยังคงมีให้เห็นทั่วไปที่มาของคำว่า คนป่วยแห่งยุโรป (The sick Man of Europe)
เมื่ออาณาจักรออตโตมัน ได้สูญเสีย “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” ผู้ปกครองอาณาจักรดังกล่าวก็มีความอ่อนแอ และไร้ความสามารถ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาพระราชอำนาจของสุลต่านได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางก็มีมากขึ้น มีการฉ้อราษฏร์บังหลวง เล่นพรรคเล่นพวก ทำให้การเมืองในประเทศอ่อนแอ และสูญเสียอำนาจในการปกครองอาณาจักร
ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิบัติอุตสาหกรรม มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้อาณาจักรออตโตมันก็ยังประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานกว่า 100 ปี โดยที่ชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในอาณาจักรออตโตมัน
ในศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจในยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของอาณาจักรออตโตมันมากขึ้น จึงเริ่มมีการตั้งคำถามว่าหาก อาณาจักรดังกล่าวนี้ล่มสลาย ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของอาณาจักรออตโตมัน โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
ในศตวรรษที่ 19 อาณาจักรออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป (the sick man of Europe) ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซียเป็นผู้ตั้ง ในเชิงดูหมิ่นออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย กับอังกฤษและฝรั่งเศษ เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี ค.ศ.1854
ในสมัยผู้ปกครองสุไลมาน อาณาจักรออตโตมันเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง นครอิสตันบูลกลายเป็นจุดศูนย์กลางในด้านศิลปะวิทยาการของโลกมุสลิม และนี้จึงเป็นคำตอบว่า “ทำไมนักท่องเที่ยวคนทั่วโลกจึงอยากมายลโฉม อิสตันบูล สักครั้งหนึ่งในชีวิต” - www.muslimthai.com
ภายในของวิหารเซนต์โซเฟีย หรือ อายาโซเฟีย
ร้านขายของที่ระลึก
ภายในบริเวณมัสยิดสุลต่านอะห์มัด หรือ Blue Mosque
ภายในเมือง
แผนที่ลักษณะของ Golden Horn
(ด้านหน้าเป็นน้ำ และด้านหลังเป็นภูเขา ซึ่งยากในการโจมตีเมือง)
ภาพรวมการท่องเที่ยวของตุรกีและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ข้อมูลเบื้องต้น ตลาดแกรนด์บาซาร์ แบ่งเป็นสองโซนด้วยกันคือ โซนที่มีหลังคา กับ ส่วนพื้นที่โล่งๆ ซึ่งวันที่เดินเที่ยว เวลามันน้อยมากๆ เดินในตลาดได้ประมาณ 2 ชั่วโมงกระมัง
ภาพแบบนี้ หาได้ไม่ง่ายนักในตลาดแกรนด์บาซาร์ คุณฟารัก บอกกับผมว่า หากซื้อของที่ตลาดนี้ เวลาต่อราคา ต้องต่ออย่างน้อย 50-70% เพราะพวกเค้าจะตั้งราคาไว้แพงมาก (ไม่ต้องเกรงใจเวลาต่อ)
ก็จริงตามที่คุณฟารักบอก ครับ ผ้าคลุมฮิญาบ ราคาประมาณ 60 TRL (1TRL = 20บาท โดยประมาณ 24กุมภาพันธ์ 54) คิดเป็นเงินไทย ก็ 1,200บาท คุณปรัชญา ฉิมวิเศษ ต่อราคาให้ผม ท้ายที่สุดได้มาที่ราคา 400บาทครับ
มีสินค้าให้เลือกมากมาย สวยๆทั้งนั้น แนะนำว่า หากจะซื้อของที่นี้ ต้องไปกันหลายๆคน และต้องมีมุขในการการซื้อของด้วย ยกตัวอย่างเช่นเราจะซื้อสินค้าร้านใดร้านหนึ่งเราก็ต่อราคาแบบดุๆหน่อย และวางแผนให้เพื่อนมาบอกให้ไปดูอีกร้าน แบบนี้รับประกันได้ราคาที่ถูกใจแน่นอน เพราะเจ้าของร้านดังกล่าวจะตื้นเราไว้อย่างแน่นอน มุขนี้ใช้มาแล้ว และก็ได้ผลซะด้วย
คุณไม่ต้องห่วงครับ ในตลาดแห่งนี้มีสินค้ามากมาย และซ้ำๆกันด้วย สินค้นคล้ายๆกัน ดูจนตาลาย ก็ว่าได้ ครั้นจะซื้ออะไรสักอย่าง ก็ให้ดูจนถูกใจ แล้วก็ค่อยถามราคา เพราะ หากคุณถามราคา นั้นหมายถึงคุณจะโดน ผู้ขายตื้นให้คุณซื้ออย่างแน่นอน หากคุณเป็นคนต่อราคาไม่เก่ง หรือเกรงใจคนขาย (อารมณ์เค้าบอกขาย 10 บาท ต่อรอง 12 บาทได้ไม่ครับ เป็นอย่างที่ผมเป็น) แนะนำว่าต้องพานักช้อป หรือนักต่อรองเดินเคียงข้าง ด้วยสักคน จะได้ของดีราคาโดนใจ ครับ
มาถึงตลาดแกรนบาซาร์ แล้วต้องทานอาหารท้องถิ่นที่นี้ ด้วย
มื้อนี้ ว่าที่คุณหมอฟารัก มีใบสั่งให้เลี้ยงต้อนรับ ดร.สุรินทร์และผู้สื่อข่าว ผมมาทราบทีหลัง หากทราบก่อนจะล้มทับสักหน่อย สำหรับสุภาพสตรี ไม่แนะนำให้ไปซื้อของคนเดียวหรือสองคน หาพวกไปกันเยอะๆครับ เพราะคนขายเกือบ 100% จะเป็นผู้ชายทั้งนั้น
ยกตัวอย่างเช่น ผมไปเดินดูสินค้า ในใจนึกว่าจะซื้อแก้วชาสักชุด ขณะกำลังเดินดูตามร้านต่างๆ พวกพ่อค้า ก็จะเดินมาถาม "มาจากไหน" ซึ่งก็จะถามต่อว่า "มาเลเซีย อินโดนีเซีย" พอบอกว่าจาก Thailand พวกก็ทำหน้างงหน่อย
หากบอกว่า "Bangkok Thailand" พวกก็จะยิ้มๆ ทำหน้าขำๆ แล้วตามด้วยพูดที่ว่า “Beautiful Girl, Sexy Girl, I love thai Gir” เจออย่างนี้จริงๆ
กะว่าจะซื้อของในร้านมันสักหน่อย ได้ยินคำพูดแบบนี้ อยากจะปล่อยสักเปรี้ยง แต่กลัวติดคุกตุรกี เสียอารมณ์จริงๆ
นอกจากแกรนด์บาซาแล้ว ในอิสตันบูลยังมีตลาดที่น่าสนใจอีก ดังเช่น ตลาดเครื่องเทศ หรืออีกชื่อเรียกว่า “อียิปต์บาซาร์” ที่นี้ราคาสินค้าไม่แพง ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องเทศนำมาจากอารเบีย อินเดีย และตะวันออกกลาง
อีกตลาดเรียกว่า “ตลาดอรัสตา Arasta Bazaar” ตลาด แห่งนี้จะมีสินค้าพื้นเมืองแทบทุกชนิด ดังเช่นสินค้าพวกกระเบื้องเคลือบตุรกี เป็นต้น โดยราคาสินค้าของทั้งสองตลาดนี้ จะดูสมเหตุสมผลว่า ตลาดแกรนด์บาซาร์ ครับ
ที่ตลาดแกรนด์บาซาร์ แพงเพราะว่านักท่องเที่ยวไปกันเยอะมาก เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป (ทั้งสองตลาด ที่กล่าวตอนหลัง ผมเองไม่มีเวลาไป ครับ มีคนเล่าให้ฟัง เลยเก็บข้อมูลมาฝากอีกที) -www.muslimthai.com
ประตูทางเข้า (จากหลายๆประตู)
บรรยากาศคึกคัก
ร้านของประดับสำหรับสตรีมีมากมาย
ผ้าคลุมฮิญาบ เค้าว่า ฮิญาบตุรกี ส่วนที่สุดในโลก เห็นแล้วก็อึ่งไม่น้อย เลือกไม่ถูกจริงๆ
ร้าน OutDoor ริมกำแพง
สวยๆจริงๆ เป็นสินค้าเด่นของตุรกี
ทั้ง อนาโตเลีย และ เทรซ จะมีช่องแคบบอสฟอรัส Bosphorus เป็นเส้นแบ่งเขต ซึ่งเป็นช่องแคบขนาดใหญ่และสองฝั่งมีความสวยงามมาก ใครไปตุรกี โดยเฉพาะไปเที่ยวเมืองอิสตัลบูล หากไม่ได้ล่องเรือชมความสวยงามของช่องแคบบอสฟอรัส ก็อย่าบอกใครเชียว ว่าไปเที่ยวตุรกี
ซ้ายมือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และขวามือ คุณฟารัก นักศึกษาแพทย์มุสลิมไทย ซึ่งกำลังศึกษาในตุรกี
ด้านหลังเป็นช่องแคบบอสฟอรัส สิ่งหนึ่งที่ประชาชนชาวตุรกีภาคภูมิใจมาก คือ การมีประเทศเพื่อนบ้านถึง 8 ประเทศ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่ชาวตุรกีบางคนจะเก่งหลายภาษา ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมดคือ
- ตะวันตก ติดกับ กรีซ และบัลแกเรีย
- ตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจอร์เจีย, อาร์เมเนีย และ อาเซอร์ไบจาน
- ตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับอิหร่าน, อิรัก และซีเรีย
เวลาในประเทศตุรกี ช้ากว่าประเทศไทย ช่วงฤดูร้อน ช้ากว่า 4 ชั่วโมง และช่วงฤดูหนาว ช้ากว่า 5 ชั่วโมง
ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus)
เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางทะเลที่สำคัญยิ่งของประเทศ ซึ่งมีความสวยงาม เพิ่มสีสันและเสน่ห์ให้แก่นครอิสตันบูล
ช่องแคบดังกล่าวมีความกว้างที่สุดประมาณ 3.2 กิโลเมตร และแคบสุด 550 เมตร ความลึกประมาณตึก 33 ชั้น (ชั้นละ 3.5เมตร)
ตำนานชื่อ บอสฟอรัส มาจากภาษากรีก แปลว่า “วัวกระโดดข้าม” (Cow’s corossing) ซึ่งมีที่มาจากเรื่องเล่าในเทพนิยายกรีกว่า เทพเจ้าซุส (Zeus) ทรงพยายามที่จะปกป้อง “Lo” คนรักของพระองค์ จากการตามล่าของฮีรา พระชายาของพระองค์ ซึ่งกำลังโกรธแค้น Lo ด้วยความหึงหวง เทพเจ้าซุสจึงได้เสกให้ Lo กลางเป็นวัว เพื่อหลบหลีกการตามล่าของฮีรา แต่พระนางก็ยังไม่ยอมลดละความพยามยามในการตามล่า Lo จึงกระโดดข้ามช่องแคบแห่งนี้เพื่อหลบหนี ช่องแคบแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า Cow’s crossing หรือ bosphorus จนถึงปัจจุบัน (อ้างอิงจากหนังสือ ตุรกี ที่เขียนโดย ไพศาล หรูพาณิชย์กิจ)
อ่านแล้วก็ยังงง ว่าเสียงมันไปพ้องกันตรงๆไหน ใครรู้ช่วยขยายความหน่อย
ผมและคณะ มีไกด์นำทางกิตติมาศักดิ์ ดร.สุรินทร์ พร้อมกระทาชายรูปหล่อ ดีกรีหมอตุรกี นามว่า “ฟารัก” เดินทางขึ้นเรือขึ้นเรือจากฝั่งยุโรป ไปฝั่งเชีย เพื่อลิ้มรสบรรยากาศ "วัวกระโดดข้าม" หากมาถึงอิสตันบูล กลับบ้านโดยไม่ได้สัมผัสกลิ่นน้ำทะเลของช่องแคบบอสฟอรัส มีหวังโดนหยามเยียดอย่างแน่นอน ดังนั้นไม่ลังเลแม้แต่น้อย ที่จะต้องล่องเรือ และไปนั่งดื่มชาตุกรี ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น 2 องศา บนเรือข้ามฝากให้จงได้
จึงเก็บภาพสวยๆมากฝาก
ช่องแคบบอสฟอรัส ถ่ายจากห้องพัก
ภาพถ่ายจากห้องพัก เวลาประมาณ 1 ทุ่ม(ของตุรกี)
ภาพแรกที่ถ่าย ด้านหลังเป็นบอสฟอรัส แต่ช่วงที่ถ่ายฝนตกนิดหน่อย
(ซ้าย) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน (ขวา) บัญญัติ ทิพย์หมัด
ท่าเทียบเรือ
ท่าเทียบเรือฝั่งยุโรป
ภาพถ่ายจากบนเรือ ซึ่งเป็นเรือข้ามฝั่งอีกลำ
บรรยากาศในเรือโดยสาร
วิวสวยๆ สำหรับสาวตุรกี
สังเกตุ ชาตุกรี ต้องแก้วลักษณะแบบนี้
หนุ่มหล่อ น่ารักซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว
อริยธรรมโบราณสวยงาม
สายสวย ขายดอกไม้ สำหรับสตรีผู้มีอายุ หุ่นแบบนี้หาได้ไม่ยาก ครับ
เมื่อลงจากเรือ
ประชาชนใช้เรือเยอะมาก
นี้เป็นเรือลำที่สอง ซึ่งจะเดินทางจากฝั่งเอเชีย กลับฝั่งยุโรป
ถ่ายหลักฐานชัดๆ ช่วงที่ไปลิเบียกำลังเป็นข่าวทั่วโลก (แต่ภาพที่เห็นเป็นภาพผู้นำตุรกีคนปัจจุบัน นายราเซพ ตอยยิบ เออร์โดกัน นายกรัฐมนตรี)
ภายในเรืออีกลำ ซึ่งลำนี้ดีมากๆ
คุณปรัชญา ฉิมวิเศษ (ซ้าย) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (ขวา) ดื่มชาตุรกี แก้วที่ 9 (หากจำไม่พลาด)
เพราะเหตุว่า "ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ดื่มอีก"
ภาพท่าเรือของตุรกี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถาปัตยกรรมโบราณที่สวยงามมาก
รัฐบาลตุรกี ให้มิสเตอร์โกมาร์ เป็นเจ้าหน้าที่ต้อนรับพวกเราขณะท่องดินแดนอิสตันบูล
การกำเนิดของเมือง
ตามตำนาน “บิซัส” แห่ง เมการา เป็นผู้สร้างเมืองเมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เมืองนี้ชื่อว่า “ไบแซนทิอุม” Byzantium
ค.ศ.330 คอนสแตนตินได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิของโรมัน และเลือกไบแซนทิอุมเป็นเมืองหลวงของโรมัน แห่งที่ 2 และเปลี่ยน “ไบแซนทิอุม” เป็น “กรุงโรมใหม่ Nova Rome” และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “คอนสแตนติโนโปลิส Constanantinopolis หรือ คอนสแตนติโนเปิล” ตามพระนามของจักรพรรดิคอนสแตนติน
เหตุผลที่เลือก “คอนสแตนติโนเปิล” เป็นเมืองหลวงที่สองของโรมคือ
- เป็นชัยภูมิที่ดีเยี่ยม เพราะตั้งอยู่ที่ทางเข้าออกช่องแคบบอสฟอรัส
- บริเวณที่ตั้งคือ “โกลเดน ฮอร์น GoldenHorn” มีน้ำล้อม 2 ด้าน และอยู่บนเนินเขา 7 ลูก (เช่นเดียวกับกรุงโรม)
อาณาจักรโรมันตะวันออก มีเมืองหลวงคือ “คอนสแตนติโนเปิล” โดยต่อมาได้เรียกอาณาจักรโรมันตะวันออกว่า “อาณาจักรไบแซนไทน์”
เมื่อความเจริญของอาณาจักรไบแซนไทน์ ถึงจุดสูงสุด หลังจากนั้น ในที่สุดนครคอนสแตนนิโนเปิล ได้รับความเสียหายจากกองทหารครูเสด (Crusaders) ใน ค.ศ. 1204 และด้วยเหตดังกล่าวทำให้อาณาจักรไบแซนไทน์ โดยมีเมืองหลวงชื่อนครสแตนนิโนเปิลเริ่มเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว
ค.ศ.1453 สุลต่านเมห์เมตที่ 2 (จักรพรรดิของอาณาจักรออตโตมัน) ได้เปิดฉากโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ใช้กำลังพลกว่าแสนคน โดยขณะนั้นมีพลเมืองเหลือในเมืองเพียง50,000คน (จากเดิมมีมากว่า 500,000คน)
การชนะของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เป็นการขยายอาณาจักรออตโตมันให้ยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น
สุลด่านเมห์เมตที่ 2 ได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันจากเมืองเอดิร์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิลและได้เปลี่ยนชื่อเมืองดังกล่าวนี้ใหม่เป็น “อิสลามบูล Islambol”
ความสำเร็จของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทำให้อาณาจักรออตโตมันแผ่ขยายความยิ่งใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดออสเตรีย ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอารเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามพระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่”
และนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
ภายหลังที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุกรีในปี 1923 นครอิสลามบูลได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “อิสตันบูล Istanbul”
Galata Tower ซึ่งมีความสูง 60 เมตร ซึ่งใช้ในการดูการขนส่งและเฝ้าเมือง ในสมัยออดโตมันได้ใช้เป็นเรือนจำด้วย
ณ ซอยหนึ่งในเมืองอิสตันบูล เวลาประมาณ 23.00น. (เวลาในตุรกี)
สภาพที่พักอาศัยสมัยเก่าก่อน ที่ยังคงมีให้เห็นทั่วไป
เมื่ออาณาจักรออตโตมัน ได้สูญเสีย “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” ผู้ปกครองอาณาจักรดังกล่าวก็มีความอ่อนแอ และไร้ความสามารถ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาพระราชอำนาจของสุลต่านได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางก็มีมากขึ้น มีการฉ้อราษฏร์บังหลวง เล่นพรรคเล่นพวก ทำให้การเมืองในประเทศอ่อนแอ และสูญเสียอำนาจในการปกครองอาณาจักร
ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิบัติอุตสาหกรรม มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้อาณาจักรออตโตมันก็ยังประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานกว่า 100 ปี โดยที่ชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในอาณาจักรออตโตมัน
ในศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจในยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของอาณาจักรออตโตมันมากขึ้น จึงเริ่มมีการตั้งคำถามว่าหาก อาณาจักรดังกล่าวนี้ล่มสลาย ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของอาณาจักรออตโตมัน โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลยอำนาจในยุโรป
ในศตวรรษที่ 19 อาณาจักรออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรป (the sick man of Europe) ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซียเป็นผู้ตั้ง ในเชิงดูหมิ่นออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย กับอังกฤษและฝรั่งเศษ เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี ค.ศ.1854
ในสมัยผู้ปกครองสุไลมาน อาณาจักรออตโตมันเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง นครอิสตันบูลกลายเป็นจุดศูนย์กลางในด้านศิลปะวิทยาการของโลกมุสลิม และนี้จึงเป็นคำตอบว่า “ทำไมนักท่องเที่ยวคนทั่วโลกจึงอยากมายลโฉม อิสตันบูล สักครั้งหนึ่งในชีวิต” - www.muslimthai.com
ภายในของวิหารเซนต์โซเฟีย หรือ อายาโซเฟีย
ร้านขายของที่ระลึก
ภายในบริเวณมัสยิดสุลต่านอะห์มัด หรือ Blue Mosque
ภายในเมือง
แผนที่ลักษณะของ Golden Horn
(ด้านหน้าเป็นน้ำ และด้านหลังเป็นภูเขา ซึ่งยากในการโจมตีเมือง)
ภาพรวมการท่องเที่ยวของตุรกีและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ไปเที่ยวอิสตันบูล ไม่ต้องห่วงเรื่องของฝาก ต้องที่นี้ “แกรนด์บาซาร์ Grand Bazaar) ซึ่งตลาดแห่งนี้ไม่ไกลจากมัสยิดอะห์เมด เป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของอิสตันบูล ซึ่งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 200ไร่ เล่ากันว่ามีร้านค้ากว่า 4,500ร้าน มีถนนให้ขาช็อปเดินกว่า 60 สาย
ซึ่งก็ใหญ่กว่าตลาดจตุจักรประมาณ 3 เท่า (จตุจักร 70 ไร่) มีคนเค้าบอกมาว่า ร้านค้าในจตุจักรมีเกือบ หนึ่งหมืนร้านเชียวครับ (จริงเท็จต้องตรวจสอบอีกทีว่าปจุบันมีกี่ร้านค้า)ข้อมูลเบื้องต้น ตลาดแกรนด์บาซาร์ แบ่งเป็นสองโซนด้วยกันคือ โซนที่มีหลังคา กับ ส่วนพื้นที่โล่งๆ ซึ่งวันที่เดินเที่ยว เวลามันน้อยมากๆ เดินในตลาดได้ประมาณ 2 ชั่วโมงกระมัง
ภาพแบบนี้ หาได้ไม่ง่ายนักในตลาดแกรนด์บาซาร์
ก็จริงตามที่คุณฟารักบอก ครับ ผ้าคลุมฮิญาบ ราคาประมาณ 60 TRL (1TRL = 20บาท โดยประมาณ 24กุมภาพันธ์ 54) คิดเป็นเงินไทย ก็ 1,200บาท คุณปรัชญา ฉิมวิเศษ ต่อราคาให้ผม ท้ายที่สุดได้มาที่ราคา 400บาทครับ
มีสินค้าให้เลือกมากมาย สวยๆทั้งนั้น แนะนำว่า หากจะซื้อของที่นี้ ต้องไปกันหลายๆคน และต้องมีมุขในการการซื้อของด้วย ยกตัวอย่างเช่นเราจะซื้อสินค้าร้านใดร้านหนึ่งเราก็ต่อราคาแบบดุๆหน่อย และวางแผนให้เพื่อนมาบอกให้ไปดูอีกร้าน แบบนี้รับประกันได้ราคาที่ถูกใจแน่นอน เพราะเจ้าของร้านดังกล่าวจะตื้นเราไว้อย่างแน่นอน มุขนี้ใช้มาแล้ว และก็ได้ผลซะด้วย
คุณไม่ต้องห่วงครับ ในตลาดแห่งนี้มีสินค้ามากมาย และซ้ำๆกันด้วย สินค้นคล้ายๆกัน ดูจนตาลาย ก็ว่าได้ ครั้นจะซื้ออะไรสักอย่าง ก็ให้ดูจนถูกใจ แล้วก็ค่อยถามราคา เพราะ หากคุณถามราคา นั้นหมายถึงคุณจะโดน ผู้ขายตื้นให้คุณซื้ออย่างแน่นอน หากคุณเป็นคนต่อราคาไม่เก่ง หรือเกรงใจคนขาย (อารมณ์เค้าบอกขาย 10 บาท ต่อรอง 12 บาทได้ไม่ครับ เป็นอย่างที่ผมเป็น) แนะนำว่าต้องพานักช้อป หรือนักต่อรองเดินเคียงข้าง ด้วยสักคน จะได้ของดีราคาโดนใจ ครับ
มาถึงตลาดแกรนบาซาร์ แล้วต้องทานอาหารท้องถิ่นที่นี้ ด้วย
มื้อนี้ ว่าที่คุณหมอฟารัก มีใบสั่งให้เลี้ยงต้อนรับ ดร.สุรินทร์และผู้สื่อข่าว ผมมาทราบทีหลัง หากทราบก่อนจะล้มทับสักหน่อย
ยกตัวอย่างเช่น ผมไปเดินดูสินค้า ในใจนึกว่าจะซื้อแก้วชาสักชุด ขณะกำลังเดินดูตามร้านต่างๆ พวกพ่อค้า ก็จะเดินมาถาม "มาจากไหน" ซึ่งก็จะถามต่อว่า "มาเลเซีย อินโดนีเซีย" พอบอกว่าจาก Thailand พวกก็ทำหน้างงหน่อย
หากบอกว่า "Bangkok Thailand" พวกก็จะยิ้มๆ ทำหน้าขำๆ แล้วตามด้วยพูดที่ว่า “Beautiful Girl, Sexy Girl, I love thai Gir” เจออย่างนี้จริงๆ
กะว่าจะซื้อของในร้านมันสักหน่อย ได้ยินคำพูดแบบนี้ อยากจะปล่อยสักเปรี้ยง แต่กลัวติดคุกตุรกี เสียอารมณ์จริงๆ
นอกจากแกรนด์บาซาแล้ว ในอิสตันบูลยังมีตลาดที่น่าสนใจอีก ดังเช่น ตลาดเครื่องเทศ หรืออีกชื่อเรียกว่า “อียิปต์บาซาร์” ที่นี้ราคาสินค้าไม่แพง ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องเทศนำมาจากอารเบีย อินเดีย และตะวันออกกลาง
อีกตลาดเรียกว่า “ตลาดอรัสตา Arasta Bazaar” ตลาด แห่งนี้จะมีสินค้าพื้นเมืองแทบทุกชนิด ดังเช่นสินค้าพวกกระเบื้องเคลือบตุรกี เป็นต้น โดยราคาสินค้าของทั้งสองตลาดนี้ จะดูสมเหตุสมผลว่า ตลาดแกรนด์บาซาร์ ครับ
ที่ตลาดแกรนด์บาซาร์ แพงเพราะว่านักท่องเที่ยวไปกันเยอะมาก เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป (ทั้งสองตลาด ที่กล่าวตอนหลัง ผมเองไม่มีเวลาไป ครับ มีคนเล่าให้ฟัง เลยเก็บข้อมูลมาฝากอีกที) -www.muslimthai.com
ประตูทางเข้า (จากหลายๆประตู)
บรรยากาศคึกคัก
ร้านของประดับสำหรับสตรีมีมากมาย
ผ้าคลุมฮิญาบ เค้าว่า ฮิญาบตุรกี ส่วนที่สุดในโลก เห็นแล้วก็อึ่งไม่น้อย เลือกไม่ถูกจริงๆ
ร้าน OutDoor ริมกำแพง
สวยๆจริงๆ เป็นสินค้าเด่นของตุรกี
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก จะเคยได้ยินชื่อเอเชียไมเนอร์ (Asia minor) หรือ เอเชียน้อย (Little Asia or Lesser Asia)ซึ่งเป็นชื่อที่กรีกและโรมันใช้เรียกคาบสมุทร Asia Minor ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่คือที่ตั้งของประเทศตุรกี ซึ่งประเทศตุรกีจะตั้งอยู่บนสองทวีป พื้นที่ร้อยละ 97 ตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย เรียกว่า “อนาโตเลีย Anatolia” อีกส่วนของประเทศตั้งอยู่ในเขตทวีปยุโรป เรียกว่า “เทรซ Trace”ทั้ง อนาโตเลีย และ เทรซ จะมีช่องแคบบอสฟอรัส Bosphorus เป็นเส้นแบ่งเขต ซึ่งเป็นช่องแคบขนาดใหญ่และสองฝั่งมีความสวยงามมาก ใครไปตุรกี โดยเฉพาะไปเที่ยวเมืองอิสตัลบูล หากไม่ได้ล่องเรือชมความสวยงามของช่องแคบบอสฟอรัส ก็อย่าบอกใครเชียว ว่าไปเที่ยวตุรกี
ซ้ายมือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และขวามือ คุณฟารัก นักศึกษาแพทย์มุสลิมไทย ซึ่งกำลังศึกษาในตุรกี
ด้านหลังเป็นช่องแคบบอสฟอรัส
- ตะวันตก ติดกับ กรีซ และบัลแกเรีย
- ตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจอร์เจีย, อาร์เมเนีย และ อาเซอร์ไบจาน
- ตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับอิหร่าน, อิรัก และซีเรีย
เวลาในประเทศตุรกี ช้ากว่าประเทศไทย ช่วงฤดูร้อน ช้ากว่า 4 ชั่วโมง และช่วงฤดูหนาว ช้ากว่า 5 ชั่วโมง
ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus)
เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางทะเลที่สำคัญยิ่งของประเทศ ซึ่งมีความสวยงาม เพิ่มสีสันและเสน่ห์ให้แก่นครอิสตันบูล
ช่องแคบดังกล่าวมีความกว้างที่สุดประมาณ 3.2 กิโลเมตร และแคบสุด 550 เมตร ความลึกประมาณตึก 33 ชั้น (ชั้นละ 3.5เมตร)
ตำนานชื่อ บอสฟอรัส มาจากภาษากรีก แปลว่า “วัวกระโดดข้าม” (Cow’s corossing) ซึ่งมีที่มาจากเรื่องเล่าในเทพนิยายกรีกว่า เทพเจ้าซุส (Zeus) ทรงพยายามที่จะปกป้อง “Lo” คนรักของพระองค์ จากการตามล่าของฮีรา พระชายาของพระองค์ ซึ่งกำลังโกรธแค้น Lo ด้วยความหึงหวง เทพเจ้าซุสจึงได้เสกให้ Lo กลางเป็นวัว เพื่อหลบหลีกการตามล่าของฮีรา แต่พระนางก็ยังไม่ยอมลดละความพยามยามในการตามล่า Lo จึงกระโดดข้ามช่องแคบแห่งนี้เพื่อหลบหนี ช่องแคบแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า Cow’s crossing หรือ bosphorus จนถึงปัจจุบัน (อ้างอิงจากหนังสือ ตุรกี ที่เขียนโดย ไพศาล หรูพาณิชย์กิจ)
อ่านแล้วก็ยังงง ว่าเสียงมันไปพ้องกันตรงๆไหน ใครรู้ช่วยขยายความหน่อย
ผมและคณะ มีไกด์นำทางกิตติมาศักดิ์ ดร.สุรินทร์ พร้อมกระทาชายรูปหล่อ ดีกรีหมอตุรกี นามว่า “ฟารัก” เดินทางขึ้นเรือขึ้นเรือจากฝั่งยุโรป ไปฝั่งเชีย เพื่อลิ้มรสบรรยากาศ "วัวกระโดดข้าม" หากมาถึงอิสตันบูล กลับบ้านโดยไม่ได้สัมผัสกลิ่นน้ำทะเลของช่องแคบบอสฟอรัส มีหวังโดนหยามเยียดอย่างแน่นอน ดังนั้นไม่ลังเลแม้แต่น้อย ที่จะต้องล่องเรือ และไปนั่งดื่มชาตุกรี ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น 2 องศา บนเรือข้ามฝากให้จงได้
จึงเก็บภาพสวยๆมากฝาก
ช่องแคบบอสฟอรัส ถ่ายจากห้องพัก
ภาพถ่ายจากห้องพัก เวลาประมาณ 1 ทุ่ม(ของตุรกี)
ภาพแรกที่ถ่าย ด้านหลังเป็นบอสฟอรัส แต่ช่วงที่ถ่ายฝนตกนิดหน่อย
(ซ้าย) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน (ขวา) บัญญัติ ทิพย์หมัด
ท่าเทียบเรือ
ท่าเทียบเรือฝั่งยุโรป
พร้อมครับ
ภาพถ่ายจากบนเรือ ซึ่งเป็นเรือข้ามฝั่งอีกลำ
บรรยากาศในเรือโดยสาร
วิวสวยๆ สำหรับสาวตุรกี
สังเกตุ ชาตุกรี ต้องแก้วลักษณะแบบนี้
หนุ่มหล่อ น่ารักซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว
อริยธรรมโบราณสวยงาม
สายสวย ขายดอกไม้ สำหรับสตรีผู้มีอายุ หุ่นแบบนี้หาได้ไม่ยาก ครับ
เมื่อลงจากเรือ
ประชาชนใช้เรือเยอะมาก
นี้เป็นเรือลำที่สอง ซึ่งจะเดินทางจากฝั่งเอเชีย กลับฝั่งยุโรป
ถ่ายหลักฐานชัดๆ ช่วงที่ไปลิเบียกำลังเป็นข่าวทั่วโลก (แต่ภาพที่เห็นเป็นภาพผู้นำตุรกีคนปัจจุบัน นายราเซพ ตอยยิบ เออร์โดกัน นายกรัฐมนตรี)
ภายในเรืออีกลำ ซึ่งลำนี้ดีมากๆ
คุณปรัชญา ฉิมวิเศษ (ซ้าย) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (ขวา) ดื่มชาตุรกี แก้วที่ 9 (หากจำไม่พลาด)
เพราะเหตุว่า "ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ดื่มอีก"
ภาพท่าเรือของตุรกี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถาปัตยกรรมโบราณที่สวยงามมาก
รัฐบาลตุรกี ให้มิสเตอร์โกมาร์ เป็นเจ้าหน้าที่ต้อนรับพวกเราขณะท่องดินแดนอิสตันบูล
ภาพเพิ่มเติมจาก อินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น