15/6/54

การปกครองในตะวันออกกลาง

เผด็จการ
ระบอบ เผด็จการเป็นระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มจากการรวมกลุ่มของมนุษย์ ผู้ที่แข็งแรงที่สุดมีอำนาจปกครองกลุ่ม โดยให้ความคุ้มครองต่อกลุ่มของตน

แนว คิดหลักคือ อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของคนคนเดียว หรือกลุ่มเดียว จึงนับว่าเป็นรากฐานการปกครองของโลก โดยทั่วไปผู้ที่ปกครองมักเป็นไปในรูปของกษัตริย์ หรือพระราชา โดยหากการปกครองเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน จะเรียกว่า ราชาธิปไตย (การปกครองโดยคนเดียวและประชาชนมีความสุข) หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองเรียกว่า ทุชนาธิปไตย โดยผู้ปกครองในกรณีนี้เรียกว่า ทรราช
เผด็จการทหาร
รัฐบาล เผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลักจากรัฐประหารซึ่งล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อน หน้า ตัวอย่างที่แตกต่างออกไปคือระบอบการปกครองซัดดัม ฮุสเซนในประเทศอิรักซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียวโดยพรรคบะ อัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)

ใน อดีต เผด็จการทหารมักจะอ้างความชอบธรรมให้แก่พวกเขาเองว่าเป็นการสร้างความ สมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์และ ทุนนิยม ถูกนำเป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร คณะทหารมักจะกล่าวว่าพวกเขาเป็นพวกไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่มีความเป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนนั้นคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหาร มักจะไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักจะไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน

ละตินอเมริกา, อัฟ ริกา และ ตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารมีการประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 199 เผด็จ การทหารเริ่มลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้าน ได้ นอกจากนี้ การสิ้นสุดสงครามเย็นที่มีผลให้สหภาพโซเวียตสลายตัว ทำให้ทหารไม่สามารถใช้ข้ออ้างเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ในการอ้างความชอบธรรม ของตนเองได้อีกต่อไป
ลัทธิฟาสซิสต์
เป็นหนึ่งในลักษณะการปกครองของรัฐบาล ในลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งปรากฏในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง , ประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าตนหรือบุคคล ลัทธิฟาสซิสต์จะมีบุคคลคนหนึ่งปกครองประเทศเรียกว่า ผู้นำเผด็จการ, ผู้ มีสิทธิในการควบคุมรัฐบาล และประชาชน ถึงแม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์จะระบุว่าประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้นำแบบเผด็จการต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดแม้แต่ กับประชาชนเองก็ตาม

ลัทธิฟาสซิสต์ นั้นแตกต่างจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ ไม่ต้องการจะเป็นเจ้าของที่ดิน หรือโรงงานผลิตสินค้า แต่ลัทธิฟาสซิสต์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านั้นและใช้เป็นทรัพยากรใน การผลิตกองทัพที่แข็งแกร่ง หรือส่วนอื่นของลัทธิฟาสซิสต์ มันสำคัญมากที่โรงเรียนทุกโรงในประเทศจะสอนเด็กว่าผู้นำเผด็จการเป็นบุคคล ที่สำคัญที่สุดในโลก เมื่อโตขึ้นแบบอย่างที่ควรทำคือเข้ารวมกลุ่มกับลัทธิฟาสซิสต์ โดยบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิจักต้องถูกสังหารหมู่ทั้งหมด ผู้นำลัทธิฟาสซิสต์มักจะเป็นบุคคลที่มียศสูงในกองทัพ ถึงแม้พวกเขาจะไม่มียศมาก่อนก็ตาม และมักปรากฏตัวในชุดกองทัพบกหรือกองทัพเรือต่อหน้าสาธารณะชน

ลัทธิฟาสซิสต์ ถูกใช้ขึ้นครั้งแรกโดย เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี จากปี พ.ศ. 2465 ถึงปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลของ เอ็นกิลเบริต ดอลฟิว ในออสเตรีย และ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ใน เยอรมนี คำขวัญของลัทธิฟาสซิสต์ คือ "สามัคคีคือพลัง"

ใน อิตาลี่โดยเรียกการปกครองแบบนี้ว่า ฟาซิโอ เป็นภาษาละติน แปลว่า สหภาพ หรือ สมาชิก ทั้งยังแปลได้อีกว่าเป็นแขนงไม้ที่พันรอบขวาน ลัทธิฟาสซิสต์เป็นชื่อของอาณาจักรโรมันสมัยก่อน มันคือไม้เมื่อไม้มีอยู่แท่งเดียวก็จะหักได้ง่าย แต่เมื่อนำไม้มารวมกันนั้นจะหักได้ยากมาก เหมือนกับเมื่อชาติมีประชาชนมารวมกันก็จะทำให้ชาติแข็งแกร่งไร้เทียมทาน แต่กลายเป็นว่าลัทธิฟาสซิสต์ ไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควรเพราะประชาชนเบื่อกับการทำงาน และการปฏิวัติของลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งทำให้ลัทธิฟาสซิสต์สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2486

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น