18/3/54

Warga Mesir siapkan unjuk rasa besar การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554

                                                 การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554

ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจำนวนมาก รวมตัวกันที่จัตุรัสทาห์รีร์ ใจกลางกรุงไคโร เมื่อวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์
การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องอันเกิดขึ้นในประเทศอียิปต์ ประกอบด้วย การเดินขบวนตามท้องถนน การประท้วง และการดื้อแพ่ง ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงแม้ว่าการประท้วงในระดับท้องถิ่นจะมีขึ้นบ่อยครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การประท้วงครั้งใหญ่และเหตุจลาจลที่ได้ลุกลามไปทั่วประเทศได้เริ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วันแห่งความโกรธ" ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่มอื่นสำหรับการเดินขบวนครั้งใหญ่ เหตุประท้วงครั้งนี้ได้รับการอธิบายว่า "ไม่เคยปรากฏมาก่อน" ในอียิปต์และเป็น "การแสดงออกซึ่งความไม่พอใจของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน" ของประเทศ ระหว่างการประท้วงดังกล่าวได้มีผู้ชุมนุมมากถึงหนึ่งล้านคน จนกระทั่งประธานาธิบดี ฮุสนี มูบารัก ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ หลังจากปกครองประเทศมานานกว่าสามสิบปี
โมฮัมเหม็ด เอล-บาราดาย กล่าวว่า การประท้วงน่าจะลงเอยเหมือนกับตูนิเซีย ที่ซึ่งประธานาธิบดีของประเทศถูกโค่นลงจากอำนาจ นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ การจลาจลขนมปังในอียิปต์ พ.ศ. 2520 และไม่เคยปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมากเช่นนี้มาก่อนและชาวอียิปต์จากภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนความเชื่อที่แตกต่างกัน ได้เข้าร่วมการประท้วงโดยพร้อมเพรียง
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์หลังจากเหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนในตูนิเซีย โดยผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนมากได้ถือธงตูนิเซียเป็นสัญลักษณ์แห่งอิทธิพลของพวกเขา การประท้วงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นการประท้วงทั่วโลกอาหรับที่เกิด ขึ้นระหว่างปลายปี พ.ศ. 2553 และต้นปี พ.ศ. 2554 ความคับข้องใจของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มุ่งไปยังปัญหาทางกฎหมายและการเมือง ตลอดจนความป่าเถื่อนของตำรวจ กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน การคอร์รัปชั่นการขาดเสรีภาพในการพูด และความเป็นอยู่ที่เลว อีกทั้งยังรวมไปถึงปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงภาวะการว่างงาน ราคาอาหารที่สูง และค่าจ้างขั้นต่ำที่มีมูลค่าต่ำ ความต้องการหลักของผู้นำการประท้วง คือ การสิ้นสุดอำนาจของฮุสนี มูบารัก การยกเลิกกฎหมายฉุกเฉิน (กฎอัยการศึก) เสรีภาพ ความยุติธรรม การจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ใช่ทหาร และการจัดการทรัพยากรของอียิปต์
รัฐบาลอียิปต์ได้พยายามที่จะขัดขวางและจำกัดการประท้วงโดยใช้หลายวิธีการ กลุ่มตำรวจปราบจลาจลได้ถูกส่งลงไปในพื้นที่พร้อมด้วยโล่ กระสุนยาง ตะบอง ปืนยิงน้ำ แก๊สน้ำตา และในบางกรณี กระสุนจริง ในหลายส่วน การรับมือการประท้วงไม่ก่อให้เกิดผู้เสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะมีผู้เสียชีวิตที่รายงานแล้ว 13 คน ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 1,300 คน และมีผู้ถูกจับกุมอีกมากกว่า 1,000 คน
การตอบสนองระหว่างประเทศต่อเหตุประท้วงดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงสนับ สนุน เหตุการณ์ดังกล่าว หลังจากเหตุการณ์การประท้วงที่แพร่หลายในอิหร่านและล่าสุด ตูนิเซีย ได้เป็นที่สนใจของชาวโลก เนื่องจากการผสมผสาน และสื่อสังคมอื่น ๆ ซึ่งได้ ทำให้นักเคลื่อนไหวและผู้เห็นเหตุการณ์ได้ติดต่อสื่อสาร ร่วมมือ และบันทึกเหตุการณ์ตามที่เกิดขึ้น เนื่องจากระดับของการประท้วงเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลอียิปต์จึงได้พยายามมากขึ้นในการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อสังคม หนึ่งวันก่อนหน้าการประท้วงที่มีการวางแผนไว้เมื่อวันที่ 28 มกราคม อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งประเทศได้ถูกตัด ถึงแม้จะมีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใช้งานได้ตาม ปกติแล้วก่อนเช้าวันรุ่งขึ้น
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ รองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ประกาศว่ามูบารักจะก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีและเปลี่ยนผ่านอำนาจให้แก่ สภากองทัพสูงสุด สุไลมานกล่าวว่ามูบารักจะถ่ายโอนอำนาจให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุด เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่ามูบารักได้เดินทางออกจากกรุงไคโรแล้วและกำลัง พำนักอยู่ในรีสอร์ตทะเลแดงในซาร์มอัลชีคที่ซึ่งเขามีภูมิลำเนาอยู่

               Warga Mesir siapkan unjuk rasa besar
Keberhasilan rakyat Tunisia menumbangkan pemerintahnya, menjadi inspirasi rakyat Mesir untuk melakukan hal serupa.
Para aktivis anti pemerintah Mesir mempersiapkan sebuah aksi unjuk rasa yang terinspirasi kemelut politik di Tunisia yang berhasil menggulingkan Presiden Zine al-Abedine Ben Ali.
Perencana aksi menyebut aksi ini sebagai hari revolusi melawan penyiksaan, korupsi dan pengangguran.
Namun, pemerintah Mesir memperingatkan bahwa pengunjuk rasa bisa ditangkap polisi dan pemerintah mengancam akan mengerahkan demonstrasi tandingan.
Aksi yang menurut rencana akan digelar di Kairo digalang melalui situs jejaring sosial Facebook. Sekitar 80.000 orang pengguna Facebook menyatakan akan ikut serta dalam aksi itu.
Wartawan BBC di Kairo Jon Leyne mengatakan aksi ini ingin meniru aksi di Tunisia yang juga digalang melalui internet.
Bedanya, di Mesir muncul keraguan soal jumlah pengunjuk rasa yang benar-benar akan turun ke jalan.
Sebab, warga sadar pengunjuk rasa anti pemerintah akan menghadapi perlakuan keras dari polisi.
"Aparat keamanan akan memperlakukan semua upaya untuk melawan hukum dengan tegas," kata direktur keamanan pemerintah di Kairo seolah membenarkan kekhawatiran warga.
Mesir memiliki masalah sosial dan politik yang kurang lebih sama seperti yang dihadapi Tunisia.
Kenaikan harga pangan, tingkat pengangguran tinggi dan korupsi menjadi masalah utama negeri Piramid itu.
Namun, sejauh ini unjuk rasa anti pemerintah hanya diikuti sedikit orang dan diperkirakan revolusi politik seperti di Tunisia belum akan terjadi di Mesir.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น