กลุ่มฟื้นฟูอิสลาม ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
“ อัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ” เป็นขบวนการอิสลามที่ เคลื่อนไหว เรียกร้องเพื่อกลับสู่อิสลามตามที่ปรากฎในอัล-กุรอาน และอัล-หะดีษ เรียกร้องให้นำกฎหมายอิสลามมาใช้ในชีวิตประจำวัน
คติพจน์ของขบวนการ
ความว่า “ อัลลอฮคือเป้าหมายของเรา และท่านศาสดาคือแบบอย่างของเรา และอัล-กุรอานคือธรรมนูญของเรา และการต่อสู้ในหนทางศาสนาคือแนวทางของเรา และการตายในหนทางของอัลลอฮคือความหวังสูงสุดของเรา”
ขบวนการนี้ก่อตั้งโดย หะซัน อัล-บันนา ( ค.ศ. 1906 –1949 ) เขา เกิดในประเทศ อียิปต์ ที่เติบโตในครอบครัวที่ยึดมั่นศาสนาอย่างเคร่งครัด ได้รับการศึกษาศาสนา จากครอบครัว มัสยิด และเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลจนกระทั่งได้ศึกษาต่อในวิทยาลัยดารุลอุลูม ( Dar al-Ulum ) ณ กรุงไคโร เขาได้รับการศึกษาในปี ค.ศ. 1927 เขาได้รับการบรรจุเป็นครูในจังหวัดอิสมาอีลียะฮ์ ( Ismailiyyah ) ณ จุดนี้เขาเริ่มกิจกรรมทางด้านศาสนาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1928 เขาเริ่มก่อตั้งขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นมีผู้ร่วมก่อตั้งพร้อม หะซัน อัล-บันนา 6 ท่าน คือ
- 2أحمد الحصري
ในปี ค.ศ. 1932 หะซัน อัล-บันนา ได้ย้ายจากอัล-อิสมาอีลียะฮ์ สู่นครไคโรขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน จึงได้ย้ายไปกับเขาด้วย ในปี ค.ศ. 1933 หนังสือพิมพ์“อัล-อิควานอัล-มุสลิมูน” ได้การตีพิมพ์ เผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ โดยมี มุฮิบบุดดีน อัล-คอตีบ ( Mahabbuddin al-Khatib )เป็นบรรณาธิการ ต่อมาหนังสือพิมพ์ “ อัล-นะซีร”(al-Nadhir ) ก็ได้รับการตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1938 และหนังสือพิมพ์ “ อัล-ชีฮาบ ”(al-Shihab) ได้รับการตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 1947 หลังจากนั้น ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนได้พิมพ์ หนังสือพิมพ์ และนิตยาสารหลายเล่ม
ในปี ค.ศ. 1941 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้การก่อตั้งเป็นองค์กรเพื่อการเคลื่อนไหว มีสมาชิก จำนวน 100 คน โดยที่ หะซัน อัล-บันนาเป็นผู้เลือกเองในปี ค.ศ. 1948 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน เข้าร่วมรบกับปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านยิวและในเดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มะฮ์มูด นักรอซี (Mahmud al-Naqrasi )ประธานสภาอิยิปต์ ในสมัยนั้น ได้ออกคำสั่งปราบปรามขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ทรัพย์สินของขบวนการถูกยึด ผู้ขบวนการหลายคนถูกจับกุมในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1948 อันนักรอซีถูกลอบสังหาร และขบวนการอัล-อิควานอัล-มุ สลิมูนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลงมือสังหารเขา บรรดาพรรคพวกของนักรอซี ซึ่งติดตามศพเขา ต่างโห่ร้องว่า ศรีษะของนักรอซี ต้องแลกด้วนศรีษะของหะซัน อัล-บันนา และในวันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 หะซัน อัล-บันนาก็ถูกลอบสังหาร
ในปีค.ศ. 1950 ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้รับการปลดปล่อย เพราะคำสั่งของนักรอซี ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนได้เลือก หะซัน อัล-หุดัยบี ( Hasan al-Hudaibi ) เป็นผู้นำ เขาถูกจับหลายครั้งและในปี ค.ศ. 1954 เขาถูกตัดสินประหารชีวิต ต่อมาได้รับลดโทษ ให้จำคุกตลอดชีวิตและในปี ค.ศ. 1971 เขาได้รับการปลดปล่อย
ในปี ค.ศ. 1951 วิกฤตการณ์ ความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษ และอียิปต์ เพิ่มทวีขึ้นขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ได้เข้าโจมตีอังกฤษ ณ คลองสุเอซในปี ค.ศ. 1952 เกิดการปฎิวัติโค้นล้มกษัตย์อียิปต์ซึ่งมีอังกฤษคอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง การปฎิวัตินี้นำโดย มุฮัมมัด นายีบ ( Muhammad Najib ) โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน หลังจากการปฎิวัต ขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ปฎิเสธการเข้าร่วมรัฐบาล เพราะแนวคิดของขบวนการไม่สอดคล้องกับรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ ยามาล อบดุลนาซีร ( Jamal Abdunnasir ) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีในสมัยนั้น ถือว่าขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน ปฎิเสธการปฎิวัต ทั้งสองฝ่ายเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1954 สมาชิกขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนถูกจับ สมาชิกหลายพันคน หนีอย่างกระเจิดกระเจิง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าพยายามลอบสังหาร ญามาล อับดุลนาซีรในปี ค.ศ. 1965- 1966 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับขบวนการอัล-อิควานอัล-มุ สลิมูน ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งอย่างรุงแรง และไปสู่การจับกุมสมาชิกของขบวนการสมาชิกหลายคนถูกทรมาน และสมาชิกหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้งซัยยิด กุฎบ์เขาเป็นนักคิดนักวิชาการของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนคนที่สอง หลังหะซัน อัล-บันนา ซึ่งถูกลอบสังหาร
หัวหน้าขบวนการอิควานมุสลีมูน
๑- حسن البنا (หะซัน อัล-บันนา)เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าคนแรกของขบวนการอิควานในระหว่างปี อ.ศ.(1928 - 1949)
حسن البنا |
๒-حسن الهضيبي (หะซัน อัล-หุฏัยบีย์)เป็นหัวหน้าคนที่สองของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(1949 - 1973)
حسن الهضيبي |
๓-عمر التلمساني (อุมัร อัล-ติลมิสานีย์)เป็นหัวหน้าคนที่สามของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(1973 - 1986)
عمر التلمساني |
๔- محمد حامد أبو النصر (มุฮัมหมัด ฮามิด อะบู นาสิ้ร)เป็นหัวหน้าคนที่สี่ของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(1986 - 1996)
محمد حامد أبو النصر |
๕- مصطفي مشهور (มุสฎอฟา มัชฮู้ร )เป็นหัวหน้าคนที่ห้าของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(1996 - 2002)
مصطفي مشهور |
๖- مأمون الهضيبي (มะอฺมูน อัล-หุฏัยบีย์)เป็นหัวหน้าคนที่หกของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(2002 - 2004)
مأمون الهضيبي |
๗- محمد مهدي عاكف (มุฮัมหมัด มะฮฺดี อากิฟ)เป็นหัวหน้าคนที่เจ็ดของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(2004 – ถึง 16 มกราคม 2010)
محمد مهدي عاكف |
๘- محمد بديع (มุฮัมหมัด บะเดียะอฺ)เป็นหัวหน้าคนที่แปดของขบวนการอิควาน ในระหว่างปี อ.ศ.(16 มกราคม 2010 จนถึงปัจจุบัน)
محمد بديع |
แนวคิดของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน
ความหมายของอิสลามตามแนวคิดของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุ สลิมูนนั้นกว้าง ครอบคลุมทุกๆด้าน ไม่ละเลยในด้านใด ด้านหนึ่ง ดังนั้นขบวนการพยายามอย่างยิ่งในการกระจายกิจกรรมของขบวนการเพื่อเข้าสู่ ระดับนานาชาติ หะซันอัล-บันนาได้กล่าวถึงลักษณะ ของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูนว่า เป็นองค์กรที่แตกต่างจากองค์กรอื่นๆดังนี้
1 – البعد عن مواطن الخلاف หมายถึง การห่างไกลจากความขัดแย้งทางศาสนา
2 – البعد عن هيمنة الأعيان والكبراء หมายถึงการห่างไกลจากผู้ที่มีฐานะ มีชื่อเสียง หรือผู้มีระดับในรัฐบาล
3 – عن الأحزاب والهيئات البعد หมายถึงการห่างไกลจาก องค์กร หรือพรรคการเมือง
4 - العناية بالتكوين والتدرج في الخطوات หมายถึง การเอาใจใส่ในการเสริมสร้างการเคลื่อนไหวขององค์กรในการดำเนินไปทีละขั้น
5 – إيثار الناحية العملية الإنتاجية على الدعاية والإعلانات หมายถึง การให้ความสำคัญในด้านการปฎิบัติมากกว่าการโฆษณาชวนเชื่อ
6 - شدة الإقبال من الشباب หมายถึง การให้ความสำคัญในการรับสมาชิกที่เป็นวัยหนุ่มสาว และ
7 – سرعة الانتشار في القرى والمدن หมายถึง การพยายามเชิญชวนเผยแพร่ตามหมู่บ้านและในเมืองอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ หะซันอัล-บันนาได้กล่าวถึง สมาชิกของขบวนการอัล-อิควานอัล-มุสลิมูน จะต้องให้สัตยบัน 10 ประการคือ
1 – การเข้าใจ หมายถึงการเข้าใจอิสลามอย่างสมบูรณ์ตามที่เขาเข้าใจ ซึ่ง รู้จักกันในชี่อว่า อัล-อุซูล อัล-อิชรีน ( พื้นฐาน 20 ประการ )
2 – ความบริสุทธิใจ หมายถึง คำพูด การกระทำ การต่อสู้ ทุกอิริยบท ของเขาเพื่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์ เดียว
3 – การปฎิบัติ หมายถึง
1 . พยายาม ปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มีร่างกายที่แข่งแรง มีจริธรรมที่ดีเยี่ยม มีความคิดมีปัญญาที่ดีเลิศและถูกต้อง มีความสามารถในการทำงาน มีความถูกต้องในการประกอบศาสนกิจ
2 .สร้างบรรยากาศบ้านให้เป็นบ้านมุสลิม ด้วยการเน้นบ้านที่ถูกต้องตามอิสลาม รักษากฎระเบียบอิสลามไว้ในบ้าน
3 . ชี้นำสังคมด้วยการเผยแพร่ความดี และต่อต้านความชั่วและอบายมุข
4 . ปลดปล่อยประเทศจากอำนายภายนอก ที่ไม่ใช่อิสลาม ในด้านการเมือง เศรฐกิจและในด้านจิตใจ
5 . พัฒนา ปรับปรุงรัฐบาล ให้เป็นรัฐบาลอิสลามอย่างแท้จริง
4 - การต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺ
5 – การเสียสละ หมายถึง การเสียสละตัวเอง ทรัพย์สิน เวลา เพื่อให้เป้าหมายของขบวนการสำเร็จ
6 – การเชื่อฟัง หมายถึง การเชื่อฟัง และปฎิบัติ ในยามทุกข์ยาก และในยามสุขสบาย
7 – ความหนักแน่นมั่นคง หมายถึงสมาชิกของขบวนการจะต้องปฎิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย แม้ว่าจะใช้ระยะทางที่ไกล และระยะเวลาที่ยาวนาน
8 – การเป็นเอกเทศ หมายถึง ความคิดของขบวนการต้อง ไม่ปะปนกับแนวคิดอื่นเพราะแนวคิดของขบวนการสมบูรณ์ถูกต้องตามระบบอิสลามแล้ว
9 – ความเป็นพี่น้อง หมายถึงสมาชิกของขบวนการต้องมีจิตใจที่รักใคร่ผูกพันกันด้วยสายใยแห่งการศรัทธา
หน้าที่ทางศาสนาของขบวนการ
รัฐบาลเริ่มสนใจญะมาอะฮ์อิคฺวานฯเมื่อหะซัน อัล-บันนา ขอร้องให้กษัตริย์และรัฐมนตรีเลิกใช้ระบบตะวันตกและหันมาใช้กฎหมายอิสลาม เขาขอร้องให้คนเหล่านี้ทำตัวอย่างให้ประชาชนอียิปต์เห็นโดยการห้ามผู้หญิง ชายปะปนกันอย่างอิสระจนเกินไป และให้เลิกการดื่มสุราในงานเลี้ยงของทางราชการ ตลอกจนการไปบ่อนการพนัน แข่งม้า ไนท์คลับ นอกจากนี้ยังได้ขอร้องให้คนพวกนี้เลิกลงรูปภรรยาและบุตรีของตนลงในหนังสือ พิมพ์ ให้นมาซเป็นประจำทุกวัน ให้พูดภาษาอาหรับแทนที่จะพูดภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส เลิกจ้างครูชาวยุโรปมาอบรมบุตรของตนที่บ้านหรือส่งบุตรไปเรียนของชาวต่าง ชาติ
จากงานญะมาอะฮ์นี้ จะเห็นได้ว่าหะซัน อัล-บันนา เป็นห่วงการศึกษาของชนรุ่นต่อไป หลายครั้งที่เขาขอร้องให้รัฐบาลอียิปต์ปรับปรุงโรงเรียนเสียใหม่ให้เห็นถึง ความสำคัญและจำเป็นในการจัดหลักสูตรสำหรับเด็กหญิงและเด็กชาย เขาสนับสนุนวิชาฟิสิกส์ ตัดขาดจากคำอธิบายของลัทธิวัตถุนิยมที่ถือว่าโลกเราประกอบด้วยสิ่งที่เห็น ด้วนตาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะให้ประเทศได้รับผลประโยชน์จากวิชาความรู้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากผลร้ายใดๆ ในภายหลัง
ตอนนี้สงครามโลกครั้งที่สอง ญะมาอะฮ์อิควานฯ มีอิทธิพลต่ออียิปต์มาก เกือบจะเรียกได้ว่า ตั้งรัฐบาลขึ้นภายใต้รัฐบาลแทบจะไม่มีเมืองหรือชนบทใดในอียิปต์ที่ไม่มีสาขา ของญะมาอะฮ์นี้อยู่ หะซัน อัล-บันนาตั้งระบบการศึกษาที่ประณีตและเข้าใจง่ายได้มีการตั้ง โรงเรียน มัสยิด ศูนย์สังคมสงเคราะห์ และกิจการค้าอันมั่งคั่งของสมาคมขึ้นทั่วประเทศ ประชาชนนิยมอ่านหนังสือพิมพ์นิตยสารและหนังสือของญะมาอะฮ์กันแพร่หลายขึ้น ทุกวัน อิทธิพลของญะมาอะฮ์เริ่มเผยไปนอกอียิปต์ ยุวชนในประเทศใกล้เคียงพากับนับถือ หะซัน อัล-บันนาเป็นผู้นำมากขึ้นเรื่อยๆ ได้มีการตั้งสาขาของญะมาอะฮ์อิคฺวานฯ ขึ้นในซีเรีย เลบานอน จอร์แดน ตูนีเซีย มอร็อกโค และซูดาน
การต่อต้านลัทธิพวกล่าอาณานิคม
หะซัน อัล-บันนา มีความเห็นเช่นเดียวกับ ญะมาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี ว่าเป็นไปไม่ได้ที่สังคมมุสลิมจะเจริญงอกงามภายใต้อำนาจของพวกศัตรูต่าง ชาติ ดังนั้นเขาจึงเรียกร้องให้ทำสงครามต่อต้านการแผ่อำนาจทั้งทางการเมืองและ เศรษฐกิจของอังกฤษ เขาเรียกร้องให้อียิปต์บังคับอังกฤษให้ถอยออกไปจากคลองสุเอซ เขาขัดขวางลัทธิสนับสนุนให้ยิวอพยพไปอยู่ในปาเลสไตน์อย่างรุ่นแรง เขาปลูกฝังความเกลียดชังลัทธินี้แก่สานุศิษย์ และตั้งคำสัตย์ไว้ว่าจะต่อต้านจนถึงที่สุดในสงครามต่อสู้กับอิสราแอลในปี 1948 ไม่มีทัพอาหรับทัพใดที่สู้รบอย่างกล้าหาญเท่ากองอาสาสมัครของญะมาอะฮ์ พวกนิยมลัทธิดังกล่าวไม่เคยพบคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวเช่นนี้มาก่อนเลย
ขณะเดียวกับที่อิทธิพลของญะมาอะฮ์และความนิยมของประชาชนเพิ่มขึ้น องค์การผู้ทรงอำนาจอื่นๆ ก็เริ่มเพ่งเล็งว่าญะมาอะฮ์นี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะล้มอำนาจของตัวและ เนื่องจากความทุจริตกินสินบน และระบอบการปกครองที่ขัดต่อประชาชน ประกอบกับผลประโยชน์ของคนต่างด้าว จึงได้มีการวางแผนเพื่อรั้งอำนาจของญะมาอะฮ์และถ้าเป็นไปได้ก็จะทำลายล้าง ขบวนการอิสลามที่ปฏิบัติงานได้เข้มแข็งที่สุดนี้เสียในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1948 รัฐบาลอียิปต์หลงเชื่อกลอุบายของอังกฤษ จึงประกาศว่าขบวนการนี้ผิดกฎหมาย สมาชิกญะมาอะฮ์อิคฺวานนุลมุสลิมูนนับพันๆ ถูกจับเข้าคุกและริบทรัพย์สมบัติ ต่อจากนั้นมาอีกไม่ถึงสองเดือน หะซัน อัล-บันนา ผู้ต่อสู้เพื่ออิสลามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยก็ถูกยิงถึงแก่กรรม ตายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949
หลักสูตรหรือแนวทางของขบวนการอิควาน
เพื่อความสมบูรณ์และครอบคลุมในการเผยแพร่อิสลาม หะซัน อัล-บันนาได้วางแนวทางและหลักสูตรของขบวนการดังนี้
๒- طريقة سنية หมาย ถึง ผู้ที่อยู่ในขบวนการอิควานต้องยืนหยัดบนแนวทางแห่งซุนนะฮที่แท้จริง โดยเฉพาะในด้านการศรัทธา(อะกีดะฮ)และด้านการปฏิบัติศาสนกิจ(อีบาดะฮ์)ทังหมด
๓- حقيقة صوفية หมาย ถึง ขบวนการอิควานเชื่อและให้ความสำคัญในคุณธรรมความดีที่ต้องเกิดขึ้นในจิตใจ ความสำนึกที่คอยควบคุมตนในการปฏิบัติอาม้าลซอและห์ การมีมารยาทที่ดี การรักกันเพื่ออัลลอฮและการเป็นพี่น้องในอิสลามที่แท้จริง
๔- هيئة سياسية หมาย ถึง ขบวนการอิควานมีความประสงค์ที่จะพัฒนาระบบการเมืองการปกครอง และต้องการที่เปลี่ยนทัศนะคติหรือมุมมองเกี่ยวกับการเมือง ทั้งนี้เพื่อให้มุสลิมได้เป็นแบบฉบับการปกครองแก่ประชาชาติอื่นๆ และต้องการให้มุสลิมเป็นสังคมที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีในสายตาชาวโลก
๕- جماعة رياضية หมาย ถึง ขบวนการอิควานเน้นเรื่องสุขภาพและพลานมัยที่สมบูรณ์ ทั้งนี้มุสลิมที่มีสุขภาพแข็งแรงย่อมเป็นที่รัก และดีกว่ามุสลิมที่อ่อนแอ ในทัศนะของอัลลอฮ และขบวนการอิควานเชื่อว่าภารกิจอิสลามที่ยิ่งใหญ่จะไม่สามารถแบกรับได้หาก ไร้ซึ่งพละกำลังทั้งร่างกายและจิตใจ
๖- رابطة علمية ثقافية หมาย ถึง ขบวนการอิควานเน้นเรื่องการศึกษาหาความรู้ การเพิ่มบัณฑิตมุสลิม ทั้งนี้เนื่องจากอิสลามจะสูงส่งได้ด้วยความรู้และความศรัทธาดั่งปรากฏในดำ รัสของอัลลอฮ
๗- شركةاقتصادية หมายถึง ขบวนการอิควานเห็นว่ามุสลิมควรและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการในเรื่องทรัพย์สินและเศรษฐกิจเพราะสมบัติที่ดีต้องเป็นของคนดี
๘- فكرة اجتماعية หมายถึง ขบวนการอิควานให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการเยียวยาสังคม และพยายามที่จะพัฒนาสังคมให้รอดพ้นจากภัยพิบัตทั้งปวง
จาก แนวคิดข้างต้นจะเห็นได้ว่าขบวนการอิควาน อัล-มุสลิมูน ต้องการที่จะบอกและสื่อว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์และครอบคลุมในทุกๆ ด้านของการดำรงชีวิตมนุษย์ รวมทั้งทางโลกและทางธรรม
อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการสอนรายวิชา นักคิดและกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น