เพตรา...นครสีกุหลาบ
“เพตรา” นครศิลาสีกุหลาบ
“เพตรา” มหานครศิลาทรายสีชมพู หรือ Red Road City เมืองมรดกโลกที่แกะสลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก ที่น่าตื่นตาตื่นใจกับการขี่ม้าลัดเลาะไปตามหุบเขาและเดินเท้าเข้าสู่รอยแยก ของเปลือกโลก (Siq) ที่ซ่อนความยิ่งใหญ่ตระการตาของมหาวิหารปราสาททรายสีชมพู “เอล คาซเนห์” มานับพันปี...
“จอร์แดน” ถือเป็นประเทศศูนย์กลางแห่งมิตรภาพแห่งตะวันออกกลาง ดินแดนศักดิ์สิทธิ์สถานที่โมเสสเสียชีวิต และแหล่งอารยธรรมหัวเมืองเอกของอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่กว่า 2,000 ปีมาแล้ว
เมืองเพตรา “นครศิลาสีกุหลาบ” เมืองที่ถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำของผู้คนและสูญหายไปจากแผนที่นานนับพันปี ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขาที่สูงชันประดุจเป็นปราการอันยิ่งใหญ่
เมื่อลัดเลาะไปตามพื้นหินและทรายกว่า 800 เมตร ที่จะมุ่งหน้าไปในเส้นทางมหัศจรรย์ที่ทางเข้าออกของเมืองเพตรา คือ บริเวณซอกเขาเรียกว่า ซิค (Siq) เป็นหุบเขาสูง 250 ฟุต และทอดคดเคี้ยวไปบนเส้นทางที่พาดผ่านเข้าไปถึงใจกลางเมือง
เกิดจากการถูกน้ำซัดกัดกร่อนจนเกิดเป็นช่องทางเดิน เล็กๆ ระหว่างหุบเขา ความสวยงามของหุบเขาทั้งสองด้าน สวยงามด้วยสีสันของหินสีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ชมร่องรอยซากปรักหักพังที่ยังมีร่องรอยให้เห็นการจัดการเรื่องการชลประทานใน การลำเลียงน้ำจากแหล่งน้ำภูเขาเข้าสู่ตัวเมืองได้อย่างน่าทึ่ง และยังมีภาพศิลปะแกะสลักจากภูเขาอีกมากมาย
เกิดจากการถูกน้ำซัดกัดกร่อนจนเกิดเป็นช่องทางเดิน เล็กๆ ระหว่างหุบเขา ความสวยงามของหุบเขาทั้งสองด้าน สวยงามด้วยสีสันของหินสีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ชมร่องรอยซากปรักหักพังที่ยังมีร่องรอยให้เห็นการจัดการเรื่องการชลประทานใน การลำเลียงน้ำจากแหล่งน้ำภูเขาเข้าสู่ตัวเมืองได้อย่างน่าทึ่ง และยังมีภาพศิลปะแกะสลักจากภูเขาอีกมากมาย
จาก นั้นเข้าเขตหน้าผาสูงชันสองข้างทางสู่มหานครแห่งศิลาทรายสีชมพูตื่นตาตื่นใจ กับความสวยงามของมหาวิหารศักดิ์สิทธิ์ปราสาททรายสีชมพู ที่นี่เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “อินเดียน่า โจนส์” ภาค 3 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า มหาวิหารแกะสลักเสลาจากภูเขาอย่างกลมกลืนได้สัดส่วนและสวยงามน่าอัศจรรย์ เป็นอาคาร 2 ชั้น ประดับ ด้วยเสาแบบคอรินเทียนส์และรูปคน ซึ่งสลักขึ้นจากเขาบริเวณกลางเมือง ว่ากันว่าเป็นคลังที่เก็บสมบัติของฟาโรห์
“เพ ตรา” เคยเป็นเมืองหลวงของพวก นาเบเธียนมา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ทำเลที่ตั้งของเมืองอยู่กึ่งกลางของเส้นทางการค้าคาบสมุทรอาระเบีย-ลุ่มแม่ น้ำไนล์ และปาเลสไตน์-ลุ่ม แม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส เลยไปจนถึงอินเดีย จึงทำให้เป็นเมืองศูนย์กลางเส้นทางการค้าทางบกอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ชาวโรมันจึงได้เข้ามายึดครอง จนกระทั่งในปี 363 ได้เกิดแผ่นดินไหวบ้านเรือนภายในเมืองพังทลายลงมาประกอบกับมีการเปิดเส้นทาง การค้าทางทะเลที่อ่าวสุเอช ชาวเมืองจึงพากันละทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่น เพตรากลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด
เมื่อเวลาผ่านไป ทรายได้ปลิวมาปกคลุมเมืองทั้งเมือง จนหายไปจากแผนที่นานกว่าพันปี แต่ในที่สุดปี 1813 จอห์น เลวิช เบอร์คฮาร์ดท์ นักเดินทางชาวสวิสได้มาพบนครแห่งนี้ จึงเริ่มปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งและในปี 1985 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก
เมืองเพตรา...หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
นครเพตรา คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลอัคบาในประเทศ จอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลา นานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812)
นครเพตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ" ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเพตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ประวัติเพตราชนกลุ่ม แรกที่เดินทางเข้ามาสู่เพตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเพตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวก นาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น
สาเหตุที่เพตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะ เพตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้ กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้ง ใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเพตราอย่างเดียว
เพตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเพตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเพตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์ เรเนียน และชาวเปอร์เซีย
เพตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เพตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั้งคั้ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันเหมาะแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากพาย นอก
วิหารใหญ่ในเมืองเพตรา
ชาวเพตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ
การล่มสลายด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวก กว่าในช่วงเวลาต่อมา เพตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส ได้เข้ายึดครองเพตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เพตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เพตรา กลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน
การค้นพบถึง แม้ซากเมืองเพตราจะเป็นสิ่งที่น่าอยากรู้อยากเห็นของผู้คนในช่วงยุคกลาง เช่นมีสุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ เดินทางเข้าไปเยี่ยมชนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบเพตราที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิน ของแม่น้ำไนล์ บวร์กฮาร์ทได้เห็นด้านหน้าอันใหญ่โตของเพตรา แต่ผู้นำทางท้องถิ่นสั่งห้ามมิให้เขาลงไปทำอะไรที่นั่น บวร์กฮาร์ทจึงแอบบันทึกย่อไว้ขณะที่อูฐเดินผ่าน ถึงแม้จะเป็นเพียงบันทึกเล็กๆ คร่าวๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการที่เปิดเมืองสู่สายตาชาวโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เลออง เดอ ลาบอร์ด ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจเมืองและเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "Voyage de I' Arabir Petree" แปลว่า "การเดินทางในเพตราแห่งอาหรับ" (ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373) ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆที่ชาวโลกไม่เคย เห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น